เฟิร์น

เฟิร์น เรียกได้ว่าเป็นพรรณไม้ที่ได้รับความนิยมมาตลอดกาล เป็นหนึ่งในองค์ประกอบในสวนสวยๆ เป็นพรรณไม้ที่ดูแลง่าย มีฟอร์มใบที่สวยงามตามท้องเรื่อง และปลูกในที่ร่มได้สบายๆ ให้คุณผ่อนคลายสัมผัสดำดิ่งในธรรมชาติและเสน่ห์ของป่าเฟิร์นได้ และคุณประโยชน์ของเค้าได้อย่างคาดไม่ถึง

เฟิร์น หรือ เฟิน เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง “เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น” ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology)

จากการศึกษาเฟิร์นในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก พบว่า มีเฟิร์นประมาณ 10,000 ชนิด ประมาณ 100 สกุล ซึ่งในจำนวนนี้ยังไม่รวมเฟิร์นที่ยังไม่ทราบชื่อ และยังมีเฟิร์นชนิดใหม่ๆ ที่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบ ในจำนวนนี้ประมาณ 15% จะพบในเขตหนาว (Temperate) เขตอัลไพน์ (Alpine) และเขตทุนดรา (Tundra) ประมาณ 5% พบตามทุ่งหญ้าในเขตหนาว เขตกึ่งทะเลทราย และเขตทะเลทราย ส่วนที่เหลือประมาณ 80% จะพบ ในเขตร้อนชื้นของโลก

การกระจายพันธุ์ของเฟิร์น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการกระจายของสปอร์ ความสามารถในการงอกของสปอร์ การเจริญเป็นแกมีโทไฟต์ และการเจริญของสปอร์โรไฟต์ เฟิร์นบางชนิดเป็นพืชถิ่นเดียว (endemic species) กล่าวคือ มีการกระจายพันธุ์จำกัด เฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น กูดเครือ(Lomagramma grossoserrata) พบเลื้อยไปตามพื้นดิน ที่ชื้นแฉะ หรือเลื้อยพันไม้ต้นในป่าเบญจพรรณชื้น ในภาคเหนือของประเทศไทย จัดเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย เนื่องจากไม่เคยมีรายงานว่า พบในประเทศอื่น แต่เฟิร์นบางชนิด เช่น กูดเกี๊ยะ (Pteridium aquilinum) จะพบขึ้นทั่วไป ทั้งในเขตหนาว และเขตร้อนชื้นของโลก

Login

Lost your password?