ขยะเปียก กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง ไม่ต้องเผา เอามาทำปุ๋ยหมัก ใส่พืชผัก ไร่นาสวนได้

ขยะเปียก กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง ไม่ต้องเผา เอามาทำปุ๋ยหมัก ใส่พืชผัก ไร่นาสวนได้

ในปัจจุบันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ปัญหาหมอกควันพิษปกคลุมทั่วภาคเหนือ ได้เกิดได้ขึ้นอย่าต่อเนื่องมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงปลายเดือนเมษายนของทุกปี ฝุ่นควัน PM2.5

ที่ผ่านมาสถานการณ์ปัญหาหมอกควันในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศในช่วงฤดูแล้ง (กุมภาพันธ์-เมษายน) ของทุกปี เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเผาพื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งมีเศษวัชพืช และเศษวัสดุการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง การเผาในพื้นที่ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่มีเศษกิ่งไม้และ ใบไม้ร่วงสะสมเป็นเชื้อเพลิงประกอบกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะและมีภูเขาล้อมรอบ จึงทำให้ความรุนแรงของปัญหาเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับจำนวนของหมอกควันที่ข้ามแดนมาจากประเทศตอนบนของภาคเหนือในประเทศไทย ส่งผลให้สถานการณ์ ‘ฝุ่นและพิษควันภาคเหนือ’ เป็นหนึ่งในปัญหาร้ายแรงปัญหาหนึ่งที่เคยถูกยกให้เป็นวาระแห่งชาติ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ทันท่วงที

สาเหตุการเกิดหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ มักจะเป็น 3 สาเหตุหลัก ได้แก่ การเกิดไฟป่า ที่มีทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและฝีมือของมนุษย์ การเผาเศษวัชพืชและวัสดุทางการเกษตรจากกิจกรรมการปลูกข้าวโพด และการเผาเศษวัชพืชและวัสดุทางการเกษตรจากกิจกรรมการปลูกไร่หมุนเวียน ซึ่งเกษตรกรเชื่อว่าการเผาจะเป็นการกำจัดเศษวัชพืชและเชื้อโรคในดินได้ และเป็นวิธีการที่เกษตรกรนิยมใช้กันมาก เนื่องจากเป็นวิธีการที่ง่ายสะดวกและประหยัด แต่ในความเป็นจริงแล้วทำให้การเกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กในปริมาณมาก และส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศมากที่สุด

ไฟป่า
ไฟป่า ขอบคุณรูปภาพจากเพจ “อาสาไฟป่าเชียงใหม่-ภาคประชาชน

เราจะมาสามารถร่วมด้วยช่วยกัน ลดการเผาขยะ กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง เพื่อลดภาวะโลกร้อน และปัญหามลพิษฝุ่นควัน PM2.5 ได้อย่างไร เมื่อไม่ต้องเผา เราต้องทำอย่างไร วันนี้ร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ขอมาแนะนำให้ท่านทั้งหลายนำขยะเปียก กิ่งไม้ ใบไม้เหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำปุ๋ยหมัก ลดปัญหาการเผาป่า และเศษใบไม้แห้ง ที่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควัน และ PM2.5 และยังเป็นประโยชน์สำหรับต้นไม้ดอกไม้ประดับที่บ้าน รวมไปถึงพืชผลทางการเกษตร ลดต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรได้เป็นอย่างดีอีกด้วย งั้นเราลองมาดูกันเลยนะคะ ว่าวิธีทำปุ๋ยหมักนั้น สามารถทำได้ง่ายๆ อย่างไร

ปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากการนำซากพืชหรือเศษเหลือจากพืชมาหมักรวมกัน และผ่าน กระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเป็นวัสดุที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย ไม่แข็งกระด้าง และมีสีน้ำตาลปนดำ

วัสดุสําหรับทําปุ๋ยหมัก

  1. ใบไม้ หรือ เศษพืช กิ่งไม้ เศษอาหาร
  2. มูลสัตว์
  3. ปุ๋ยยูเรีย
  4. สารเร่ง พด.1 สามารถขอรับได้ฟรี ที่กรมพัฒนาที่ดินใกล้บ้านท่าน อย่าลืมนำบัตรประชาชนไปด้วยนะคะ

สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 คืออะไร

สารเร่งซุปเปอร์ พด.1

สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มี ประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการ เกษตร และอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อ ผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น ประกอบ ด้วยเชื้อราและแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลส และแบคทีเรียที่ย่อยไขมัน

จุดเด่นของสารเร่งซุปเปอร์ พด.1

  1. มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสารประกอบ เซลลูโลสที่ย่อยสลายยาก
  2. สามารถย่อยสลายน้ำมัน ไขมันในวัสดุหมัก
  3. ผลิตปุ๋ยหมักในระยะเวลารวดเร็วและมีคุณภาพ
  4. เป็นจุลินทรีย์ที่ทนต่ออุณหภูมิสูง
  5. เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างสปอร์ จึงเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์ได้นาน
  6. สามารถย่อยวัสดุเหลือใช้ได้หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น

การผลิตปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 และเศษใบไม้แห้ง

  1. ละลายสารเร่ง พด.1 ในน้ำ 1 ปี๊ป (20ลิตร) คนให้ เข้ากัน นาน 15 นาที
  2. รดสารละลาย พด.1 ลงในกองปุ๋ยหมัก
  3. ตั้งกองปุ๋ยหมักให้มีความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร และสูง1.5 เมตร รดน้ำให้ชุ่ม และมีความชื้น 60 เปอร์เซ็นต์
  4. ทําการกลับกองปุ๋ยหมักพร้อมกับรดน้ำทุก 10 วัน เป็นจํานวน 4 ครั้ง
  5. ปุ๋ยหมักที่ยอยสลายสมบูรณ์แล้ว และสามารถนําไปใช้ได้ จะมีสีน้ำตาลเข้มดํา ยุ่ย ละเอียด ไม่มี กลิ่นเหม็น และความร้อนภายในกองปุ๋ยหมักลดลง

วิธีสังเกตลักษณะของปุ๋ยหมักที่หมักจนสมบูรณ์แล้ว

  1. สีของปุ๋ยหมัก จะมีสีเข้มขึ้น แตกต่างจากกองปุ๋ยใหม่ๆ เป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
  2. อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมัก เมื่อเริ่มกองปุ๋ยใหม่ๆ อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยจะร้อนมาก แต่เมื่อเวลา ผ่านไประยะหนึ่งอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยจะเย็นลง แสดงว่ากระบวนการหมักสมบูรณ์แล้ว
  3. ลักษณะความอ่อนนุ่มของเศษพืช วัสดุเศษพืชจะอ่อนนุ่ม ยุ่ย ขาดออกจากกันได้ง่าย ไม่แข็ง กระด้าง และไม่เป็นก้อน
  4. กลิ่นของปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วจะมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดิน ถ้าหากมีกลิ่นฉุน หรือกลิ่น ฟาง แสดงว่ากระบวนการย่อยสลายของปุ๋ยหมักยังไม่สมบูรณ์
  5. ต้นพืชสามารถเจริญบนกองปุ๋ยหมักได้แสดงว่าปุ๋ยหมักย่อยสลายสมบูรณ์แล้ว และไม่มีสิ่งเจือปน ที่เป็นอันตรายต่อพืช
  6. ค่าวิเคราะห์เคมีปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายจนสมบูรณ์แล้วจะมีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) เท่ากับหรือน้อยกว่า 20 : 1
    หมายเหตุ :
    – ถ้าค่า C/N ratio < 100 : 1 เป็นปุ๋ยหมักในเวลา 30 – 45 วัน
    – ถ้าค่า C/N ratio > 100 : 1 เป็นปุ๋ยหมักในเวลา 3 – 4 เดือน

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกระบวนการย่อยสลายของปุ๋ยหมัก

  1. ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยหมัก
    ขนาดและรูปร่างของเศษวัสดุหมัก ต้องมีขนาดเล็กและมีขนาดที่เหมาะสม เพื่อสามารถถูกย่อย สลายเป็นปุ๋ยหมักได้ดีและเร็วกว่าวัสดุที่มีขนาดใหญ่
    หมายเหตุ :
    – วัสดุหมักที่มีขนาดเล็กเกินไป จะมีพื้นที่ผิวมาก ทำให้การระบายอากาศในกองปุ๋ยหมักไม่ดี อากาศผ่านเข้า – ออกได้ยาก
    – วัสดุหมักที่มีขนาดใหญ่เกินไป มีพื นที่ผิวลดลง กระบวนการย่อยสลายเกิดได้ช้า ความสดของเศษพืช ถ้าใช้เศษพืชสดต้องนำไปตากแดดก่อนเพื่อลดความชื้น เพื่อช่วยให้กองปุ๋ยหมักไม่ชื้นมากจนเกินไปและสามารถระบายอากาศได้ดี
  2. การเพิ่มประสิทธิภาพในการท้างานของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมัก สามารถเติมวัตถุดิบที่เป็นแหล่ง อาหารให้แก่จุลินทรีย์ได้ เพื่อช่วยให้เกิดการย่อยสลายของปุ๋ยหมักได้ดีขึ้น เช่น มูลสัตว์ต่างๆ ยูเรีย และกากน้ำตาล เป็นต้น หมายเหตุ : ในการผลิตปุ๋ยหมัก จ้านวน 1 ตัน สามารถใช้น้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากปลา จำนวน 9 ลิตร แทนยูเรีย จำนวน 2 กิโลกรัม ได้เช่นกัน
  3. ความชื้นในกองปุ๋ยหมัก ควรเติมน้ำในกองปุ๋ยหมักให้มีความชื้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการ ย่อยสลายประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนัก) โดยจะต้องไม่แฉะจนเกินไป
    หมายเหตุ :
    – ถ้าความชื้น < 30 เปอร์เซ็นต์ -> กิจกรรมการย่อยสลายจะเกิดขึ้นช้าๆ
    – ถ้าความชื้น > 80 เปอร์เซ็นต์ -> ขาดออกซิเจน การย่อยสลายช้าลง
  4. การระบายอากาศในกองปุ๋ยหมัก โดยการกลับกองปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยระบายอากาศ เพิ่มออกซิเจนให้แก่กองปุ๋ย และคลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากัน เพื่อช่วยกิจกรรมของจุลินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพ

วัตถุดิบสำหรับทำปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมัก