ต้นกล้าผักเซียงดา

ต้นกล้าผักเซียงดา

5.00 out of 5 based on 1 customer rating
(1 review)

25฿

ร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ จำหน่าย ต้นกล้าผักเชียงดา ราคาถูก ต้นผักเชียงดา ผักพื้นบ้าน สมุนไพร พิชิตโรค เบาหวาน ความดัน ไขมัน ปลูกง่าย ดูแลง่าย ยังสามารถเอามาประกอบอาหาร เมนูแกงใส่ปลาย่าง หรือผัดเชียงดาผัดไข่ นำมาเป็นชาสมุนไพร นำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น ปลูกและสร้างรายได้อีกด้วย

H0002. In stock .

วิธีการสั่งซื้อ

ติดต่อมาทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ Chiangmaigardens หรือโทร 0850356187 หรือแอดไลน์ไอดี @0850356187

ราคาขายตามขนาดต้นไม้ รูปภาพเป็นรูปตัวอย่าง สินค้ามีเข้าและออกตลอดเวลา กรุณาสอบถามก่อนนะคะ แม่ค้าจะได้คำนวณค่าจัดส่งให้ตามขนาด ปริมาตร และจำนวนที่สั่งซื้อค่ะ ขอบคุณมากค่ะ แต่ตอนจัดส่งจะลงถุงดำนะคะ เนื่องจากข้อจำกัดในการจัดส่ง บางครั้งมันเข้ากล่องไม่ได้ค่ะ เพื่อเป็นการลดภาระลูกค้าในการจัดส่งค่ะ

รายละเอียดเพิ่มเติม

จากผลงานวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า ในผักเชียงดา อุดมไปด้วยกรดจิมเนมิก สารเบต้าแคโรทีน และ วิตามินเอ มีสรรพคุณช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือด ตามที่คุณถามมา บำบัดโรคเบาหวาน บำรุงสายตา แก้ไอและขับเสมหะได้ดี และเน้นว่าการนำใบอ่อนมาบริโภคโดยไม่ผ่านความร้อน จะได้ปริมาณสารสำคัญสูงที่สุด

ต้นผักเชียงดา รักษาเบาหวาน

โรคเบาหวาน เดี่ยวนี้ถือว่าเป็นโรคที่พบมากในคนไทยโดยเฉพาะคนภาคอีสาน ซึ่งสาเหตุหนึ่งก็มาจากพฤติกรรมการกิน และอาหารที่รับประทาน คือ ข้าวเหนียว จึงทำให้คนในภาคอีสานป่วยเป็นเบาหวานอันดับหนึ่งของประเทศไทยเลยก็ว่าได้

ดังนั้น หมอยาต่างๆจึงมีการคิดค้นยานาๆชนิด ที่จะมารักษาโรคเบาหวานกันอย่างมากมาย และนี่ก็เป็นสมุนไพรอีกตัวหนึ่งที่มีสรรพคุณ รักษาโรคนี้เลยทีเดียว โดยเฉพาะคนในภาคเหนือได้มีการผลิตเป็นวิสาหกิจชุมชุนกันอย่างมากมายเลย

ภาคเหนือ เรียกว่า เชียงดา ส่วนคนภาคอีสานเรียกว่า ผักฮ้วนหมูหรือม้วนหมู เป็นไม้เถาเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยว รูปกลมรี ฐานใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ สีเหลืองอมส้ม ดอกย่อยกลมเล็ก ผลเป็นฝักคู่
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gymnema inodorum (Lour.) Decne.
ชื่ออื่นๆว่า ผักเซ็ง, ผักจินดา, ผักเจียงดา, ผักกูด, ผักเซ่งดา, ผักม้วนไก่
เป็นผักพื้นบ้านทางเหนือและภาคอีสานของประเทศไทย และยังพบได้ในประเทศอื่นๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น และแอฟริกา

เชียงดาเป็นผักที่ถูกใช้เป็นยารักษาเบาหวานในอินเดียและประเทศในแถบเอเชียมานานกว่า 2000 ปีแล้ว เพราะมีสารสำคัญคือ gymnemic acid ในภาษาฮินดู Gurmar แปลตรงตัวว่า ผู้ฆ่าน้ำตาล ประเทศญี่ปุ่น ใช้ยอดอ่อนของผักเชียงดาที่นำเข้าจากประเทศไทยไปผลิตเป็น ชาชงสมุนไพร (Herbal tea)

ผักเชียงดา เป็นไม้เลื้อย ส่วนต่างๆมีน้ำยางใสสีขาว ออกใบเดี่ยวสลับ ดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ ดอกเล็กๆสีเหลืองหรือเหลืองอมส้มหรือเขียว ผลรูปหอก พบขึ้นตามป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ

การขยายพันธุ์ ใช้ในการปักชำกิ่ง นิยมปลูกตามริมรั้ว หรือให้ขึ้นเลื้อยไม้อื่น หรือเกิดเองตามธรรมชาติ

การประกอบอาหาร นิยมรับประทานกันตั้งแต่โบราณมาแล้ว โดยเอายอดอ่อนดอกอ่อนใบอ่อนแกงกับปลาแห้ง แกงกับผักเสี้ยว แกงแคกับผักต่างๆ ในฤดูแล้งรสชาติจะหอมหวาน ฤดูฝนจะติดเฝื่อนนิดๆ รสชาติโดยทั่วไปขมนิดๆทำเป็นผักลวกจิ้มกับน้ำพริกหรือทำเป็นแกงผักเชียงดาใส่ปลาแห้ง คนภาคอีสานนำมาทำห่อหมก(หมกเจาะ) ดอกนำมานึ่งใสปลา
สรรพคุณทางสมุนไพร
– มีสรรพคุณเหมือนฟ้าทะลายโจร แก้ไข้ แก้แพ้ และยังรักษาอาการทางจิต
– ใช้ในการรักษาโรคท้องผูก โดยแกงผักเชียงดารวมกันกับผักตำลึงและยอดชะอม
– แก้ไข้ แก้หวัด ใช้ใบสดตำละเอียดพอกกระหม่อมเด็ก
– บำรุง ตับอ่อน รักษาเบาหวาน ปัจจุบันมีงานวิจัยระบุว่า “ผักเชียงดา” สามารถช่วย บำรุง “ตับอ่อน” ที่ไม่ผลิตอินซูลิน สาเหตุหนึ่งของโรคเบาหวานให้ทำงานได้ดีขึ้น
– ลดน้ำตาลในเลือดของโรคเบาหวาน

สรรพคุณของผักเชียงดา

  • ผักเชียงดามีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุ ช่วยป้องกัน
  • การแตกของเม็ดเลือดแดง และการเสียของ DNA ข้ออักเสบรูมาตอยด์และเก๊าท์
  • ผักเชียงดามีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ และชาวบ้านยังนิยมกินผักเชียงดาหน้าร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกายอีกด้วย
  • หมอยาพื้นบ้านในจังหวัดจะใช้ผักเชียงดาเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยอันเนื่องมาจากการทำงาน
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร
  • ช่วยชำระล้างสารพิษตกค้างในร่างกาย
  • ใช้รักษาเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน ด้วยการนำผักเชียงดามาปรุงเป็นอาหารรับประทาน จากการศึกษาพบว่า การรับประทานผงผักเชียงดาก่อนอาหารประมาณวันละ 8-12 กรัม (แบ่งการรับประทานเป็น 3 มื้อ มื้อละ 4 กรัม) จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานให้เป็นปกติได้ หรือจะรับประทานเป็นผักสดอย่างน้อยวันละประมาณ 50-100 กรัม หรือ 1 ขีด ก็สามารถช่วยป้องกันและบำบัดโรคเบาหวานได้เช่นกัน
  • ช่วยควบคุมและปรับระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ
  • ช่วยลดและควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายให้สมดุล
  • ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนักได้ เพราะผักชนิดนี้สามารถช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีรายงานว่าผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง
  • ผักเชียงดามีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา แก้ตาฝ้าฟาง มีอาการเคืองตา เนื่องจากผักชนิดนี้มีวิตามินสูง
  • ช่วยแก้หูชั้นกลางอักเสบ (ต้น)
  • ใบนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณกระหม่อมเพื่อรักษาไข้ อาการหวัด ปรุงเป็นยาลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ หรือนำไปประกอบในตำรายาแก้ไข้อื่น ๆ
  • ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ (ผล)
  • ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้และหอบหืด
  • ต้นสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ แก้ปอดอักเสบ (ต้น)
  • ช่วยแก้โรคบิด (ต้น)
  • การรับประทานผักเชียงดาใบแก่ จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และชาวบ้านยังนิยมนำมาแกงรวมกับผักตำลึงและยอดชะอมเพื่อใช้รักษาอาการท้องผูกอีกด้วย
  • ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ต้น)
  • ต้นแห้งหรือต้นสดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
  • ช่วยขับระดูของสตรี
  • ช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง ช่วยบำรุงและปรับสภาพการทำงานของตับอ่อนให้เป็นปกติ
  • ช่วยบำรุงและซ่อมแซมหมวกไต และระบบการทำงานของไตให้สมบูรณ์
  • ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ต้น)
  • ใบใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ทำให้น้ำเหลืองแห้ง และแก้กามโรค
  • ใบสดใช้ตำพอกฝีหรือหัวลำมะลอก งูสวัด เริม ถอนพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
  • หัวมีรสมันขม มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษอักเสบ พิษร้อน ช่วยดับพิษกาฬ แก้พิษไข้เซื่องซึม และแก้เริม (หัว)
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อจากโรคเก๊าท์
  • ในบ้านเรามีการใช้ผักเชียงดาเป็นทั้งยาสมุนไพรและเป็นอาหารเพื่อรักษาโรคโดยกลุ่มหมอเมืองทางภาคเหนือมานานแล้ว กล่าวคือ การใช้เป็น “ยาแก้หลวง” (คล้ายยาครอบจักรวาลของแผนปัจจุบัน) ถ้าคิดไม่ออกก็บอกผักเชียงดา เช่น แก้เบาหวาน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตัวร้อน แก้ไข้สันนิบาต (ชักกระตุก) แก้หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด แก้แพ้ยา แพ้อาหาร ปวดข้อ เป็นยาระบาย ช่วยระงับประสาท หรือเมื่อมีอาการคิดมากหรือจิตฟั่นเฟือน ฯลฯ ส่วนการนำมาใช้เป็นยาก็ให้นำผักเชียงดามาสับแล้วนำไปตากแห้งบดเป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม หรือจะนำมาบรรจุลงในแคปซูลก็ได้
  • หมายเหตุ : การนำมาใช้เป็นยาในหน้าแล้งให้รากมาทำยา ส่วนในหน้าฝนให้ใช้ส่วนของเถาและใบ โดยนำมาสับตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง ใช้ชงเป็นชาดื่ม

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเชียงดา
สารสำคัญที่ได้ ได้แก่ สาร Vioflavonoid สารในกลุ่ม Carotenoid (ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก) มี Flavonoid, คาเทชิน, โปรแอนโทไซนานิดิน (Proanthocyanidin), มีสารต้านอนุมูลอิสระ คือ Curcumin, Furmeric, เบต้าแคโรทีน, และมีวิตามินซีมากกว่าแครอท

จากการศึกษาผลของผักเชียงดาในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี พบว่าการดื่มชาผักเชียงดาภายใน 15 นาทีหลังจากได้รับสารละลายกลูโคส จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่ไม่ได้ดื่มชาผักเชียงดา ส่วนฤทธิ์การลดระดับน้ำตาลในเลือดนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของผักเชียงดาด้วย และเมื่อให้อาสาสมัครดื่มชาเป็นระยะเวลา 28 วัน ก็ไม่พบว่ามีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่พบการเปลี่ยนแปลงของการทำงานของตับ แต่การให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 12 ราย ดื่มชาผักเชียงดาหลังอาหารวันละ 3 มื้อเพิ่มเติมจากยาเบาหวานที่ได้รับ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ตลอดจนไม่กระทบต่อการทำงานของตับและไต และไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงแต่อย่างใด แต่การศึกษานี้ยังมีข้อจำกัดคือจำนวนของผู้ป่วยและระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาที่มีค่อนข้างน้อย จึงต้องมีควรศึกษาเพิ่มเติมและประเมินผลต่อไป

ผักเชียงดามี Gymnemic acid (สกัดมาจากส่วนรากและใบของผักเชียงดา) โดยสารชนิดนี้มีลักษณะโครงสร้างเหมือนน้ำตาลกลูโคส จึงเข้าไปจับกับตัวรับที่ลำไส้แทนโมเลกุลของกลูโคส และช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน โดยมีรายงานว่ามีผู้ป่วย “บางราย” สามารถรับประทานผักเชียงดาเพียงอย่างเดียวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบัน เนื่องจากผักชนิดนี้มีฤทธิ์ฟื้นฟูเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ที่เป็นอวัยวะช่วยสร้างอินซูลินให้อยู่ในระดับปกติ

จากการผลการทดลองกับสุนัข กระต่าย และหนูที่ทำให้เป็นเบาหวาน พบว่ามีปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อตรวจดูตับอ่อน และยังพบว่ามีปริมาณของเบต้าเซลล์เพิ่มขึ้น จึงเป็นไปได้ว่าผักเชียงดาสามารถช่วยซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อนได้ ส่วนการศึกษาในมหาวิทยาลัยมัทราส ประเทศอินเดีย ได้ทำการศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูทดลองที่ให้สารพิษที่ทำลายเซลล์เบต้าในตับอ่อนของหนู โดยพบว่า หนูที่ได้รับผักเชียงดาทั้งในรูปของสารสกัดและผงแห้ง มีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน 20-60 วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของเบต้าเซลล์ก็เพิ่มขึ้นด้วย

มีการวิจัยในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่ใช้อินซูลิน 27 ราย โดยให้กินสารสกัดที่ทำให้บริสุทธิ์ขึ้น 400 มิลลิกรัมต่อวัน พบว่าปริมาณความต้องการอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานลดลง และในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ได้ใช้อินซูลิน 22 ราย เมื่อให้สารสกัด 400 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 18-20 เดือน ร่วมกับยารักษาเบาหวาน พบว่าปริมาณการใช้ยารักษาเบาหวานลดลง โดยมีผู้ป่วยจำนวน 5 ราย ใน 22 ราย ที่สามารถหยุดให้ยาเบาหวานโดยใช้แต่สารสกัด Gymnema เพียงอย่างเดียว[1]
มีรายงานการทดลองใช้ต้น Gymnema sylvestre ซึ่งเป็นพืชในสกุลเดียวกันกับผักเชียงดาที่มีขึ้นอยู่ในประเทศอินเดีย โดยบริษัทในประเทศญี่ปุ่นได้ผลิตพืชชนิดนี้ออกขายในรูปของยาชงเพื่อรักษาโรคเบาหวาน แต่จากรายงานการทดลองทั้งในคนและสัตว์ ได้แสดงให้เห็นว่า สมุนไพรชนิดนี้สามารถช่วยสร้างและซ่อมแซมเบต้าเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์อินซูลิน

เมื่อปี พ.ศ.2546 นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานถึงผลของสารสกัดผักเชียงดาในหนูทดลอง ซึ่งนอกจากจะมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยเพิ่มปริมาณของอินซูลินแล้ว ยังช่วยลดปริมาณของอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูทดลองที่เป็นหวานได้อีกด้วย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณของสารกลูต้าไธโอน วิตามินซี และวิตามินอี ในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วย และยังพบว่าสารสกัดดังกล่าวนั้นมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวานที่มีชื่อว่า “ไกลเบนคลาไมด์” (glibenclamide)

ประโยชน์ของผักเชียงดา
จากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองของผักพื้นบ้านจำนวน 43 ชนิด ที่บริโภคกันในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ผักเชียงดามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด และยังเป็นผักที่มีวิตามินอีสูงที่สุดอีกด้วย

ยอดผักเชียงดาสดจะมีรสมัน หากนำมาต้มให้สุกจะมีรสหอมหวาน ชาวบ้านทางภาคเหนือจึงนิยมปลูกผักเชียงดาไว้ตามริมรั้ว โดยนิยมนำใบอ่อนและยอดอ่อน มารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ หรือนำมาทำแกง แกงส้ม แกงแค แกงเขียว แกงโฮะ แกงขนุน แกงเลียงกับปลาแห้ง หรือใส่ในต้มเลือดหมู แกงใส่ผักหวาน แกงรวมกับผักชะอม ผักกูด ผักเฮือด ฯลฯ หรือนำมาผัดน้ำมันหอย ทำผัดผักเชียงดา ผัดร่วมกับมะเขือ ฯลฯ แต่โดยปกติแล้วจะไม่ผัดผักเชียงดาล้วน ๆ เพราะจะมีรสขม (ผักเชียงดาในหน้าแล้งจะอร่อยกว่าในหน้าฝน เพราะผักเชียงดาในหน้าฝนจะมีรสเฝื่อนไม่ค่อยอร่อย)

คุณค่าทางโภชนาการของผักเชียงดา 100 กรัม ประกอบไปด้วย พลังงาน 60 แคลอรี่, ความชื้น 82.9%, โปรตีน 5.4 กรัม, ไขมัน 1.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 6.2 กรัม, ใยอาหาร 2.5 กรัม, เถ้า 1.6 กรัม, วิตามินเอ 5,905 หน่วยสากล, วิตามินบี1 981 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.32 มิลลิกรัม, วิตามินบี3 1 มิลลิกรัม, วิตามินซี 153 มิลลิกรัม, แคลเซียม 78 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 2.3 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม

ในปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรรวบรวมผักเชียงดามาปลูกในแปลงปลูกขนาดใหญ่ เพื่อเก็บยอดไว้ขายในเชิงการค้าแล้ว

ในปัจจุบันบริษัทยาของประเทศญี่ปุ่นได้ผลิตพืชชนิดนี้เป็นชาชงสมุนไพร หรือในรูปแบบแคปซูลหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อลดรักษาเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยยับยั้งการดูดซึมของกลูโคส ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แคปซูลผักเชียงดาจะมีวางจำหน่ายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพทั่วไป โดยในรูปแบบผงแห้งจะมีการควบคุมมาตรฐานของ gynemic acid ต้องมีไม่ตำกว่า 25% คือใน 1 แคปซูลส่วนใหญ่แล้วจะมีผงยาเชียงดาอยู่ประมาณ 500 มิลลิกรัม

หมายเหตุ : ควรเลือกรับประทานผักเชียงดาใบอ่อน ที่ไม่ผ่านความร้อน จึงจะได้ประโยชน์ด้านคุณค่าทางอาหารมากที่สุด แต่ถ้าต้องการให้ระบบขับถ่ายในร่างกายดีขึ้น ควรรับประทานผักเชียงดาใบแก่

ข้อควรระวัง : การรับประทานผักเชียงดาอาจทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาล ดังนั้นจึงควรแจ้งแพทย์ผู้รักษาให้ทราบเมื่อใช้ผักเชียงดาร่วมในการรักษาเบาหวาน

วิธีทำผักชาผักเชียงดา ในระดับครัวเรือน

ใบอ่อนและยอดอ่อน ใช้ทำยาดีที่สุด เช่นเดียวกับชาจีน ที่นิยมนำยอดชาอ่อน 3 ใบ มาผลิตใบชา จะขายได้ราคาแพงที่สุด แต่ยอดอ่อนหรือใบอ่อนคงมีปริมาณไม่เพียงพอ ต้องผสมไปกับใบเพสลาดของผักเชียงดาเข้าไปด้วย เก็บใบได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ล้างน้ำให้สะอาด จนยางเหนียวหมดไป และไม่มีฝุ่นละอองติดมาด้วย ใส่ลงในตะแกรงตาห่าง ให้สะเด็ดน้ำ ผึ่งลมไว้จนน้ำที่เกาะอยู่ตามใบแห้งหมด จากนั้นนำมาซอยให้ละเอียด แล้วนวดเบาๆให้ทั่ว เพื่อให้เซลล์แตก สารสำคัญไหลออกมาเคลือบใบเชียงดาที่ซอยละเอียดแล้วนั้น ผึ่งไว้อีกสักพักก่อนนำไปคั่วด้วยกระทะสะอาดบนเตาไฟถ้าเป็นเตาถ่านได้ยิ่งดี ให้ความร้อนระดับกลาง ไม่ควรร้อนเกินไป อ่อนเกินไป ใส่ถุงมือคลึงเบาๆกับกระทะ หากไม่สะดวกให้ใช้ไม้พาย คนและพลิกกลับไปมาให้ใบผักเชียงดาสัมผัสกับความร้อนอย่างทั่วถึงจนเห็นว่าแห้งดี และมีกลิ่นหอมเกิดขึ้นนับว่าใช้ได้ นำขึ้นผึ่งลมให้เย็นอีกครั้ง ก่อนบรรจุในถุงเก็บไว้บริโภคต่อไป

ต้นกล้าผักเซียงดา จาก 1 รีวิว

  1. 5 out of 5

    อร่อยดีมีประโยชน์ ปลูกแล้วเก็บกินได้ตลอดทั้งปี

เฉพาะลูกค้าที่เข้าสู่ระบบ และเคยซื้อสินค้าชิ้นนี้แล้วเท่านั้น ที่เขียนบทวิจารณ์ได้