ข่า

40฿

ร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ จำหน่ายต้นพันธ์ข่าพื้นบ้าน ราคาย่อมเยา สำหรับปลูกไว้กินเองในบ้าน ประหยัด ปลอดสารพิษ และปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลเยอะ ข่าเป็นสมุนไพรรสชาติเผ็ดร้อน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เพิ่มรสชาติของอาหารให้จัดจ้าน หอมอร่อยยิ่งขึ้น ใช้ในการรักษาโรค และมากไปด้วยคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

H0027. In stock .

วิธีการสั่งซื้อ

ติดต่อมาทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ Chiangmaigardens หรือโทร 0850356187 หรือแอดไลน์ไอดี @0850356187

ราคาขายตามขนาดต้นไม้ รูปภาพเป็นรูปตัวอย่าง สินค้ามีเข้าและออกตลอดเวลา กรุณาสอบถามก่อนนะคะ แม่ค้าจะได้คำนวณค่าจัดส่งให้ตามขนาด ปริมาตร และจำนวนที่สั่งซื้อค่ะ ขอบคุณมากค่ะ แต่ตอนจัดส่งจะลงถุงดำนะคะ เนื่องจากข้อจำกัดในการจัดส่ง บางครั้งมันเข้ากล่องไม่ได้ค่ะ เพื่อเป็นการลดภาระลูกค้าในการจัดส่งค่ะ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ จำหน่ายต้นพันธ์ข่าพื้นบ้าน ราคาย่อมเยา สำหรับปลูกไว้กินเองในบ้าน ประหยัด ปลอดสารพิษ และปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลเยอะ ข่าเป็นสมุนไพรรสชาติเผ็ดร้อน สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เพิ่มรสชาติของอาหารให้จัดจ้าน หอมอร่อยยิ่งขึ้น ใช้ในการรักษาโรค และมากไปด้วยคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ

ข่า จัดเป็นพืชสมุนไพร และเครื่องเทศที่มีนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านอาหาร สมุนไพร เครื่องเทศ และความงาม เนื่องจากประกอบด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่ช่วยบำรุงร่างกาย รักษาโรค และสารต้านอนุมูลอิสระ

เหง้าข่าอ่อนมีอายุประมาณ 4-7 เดือน มักใช้นำมาประกอบอาหาร และบริโภค เช่น เป็นผักลวกร่วมกับน้ำพริก ประกอบอาหารประเภทแกง ต้ม ส่วนข่าแก่นิยมนำมาใช้เป็นสมุนไพร ทั้งในรูปสารสกัด ผงข่า และน้ำมันหอมระเหย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เหง้า/ลำต้นใต้ดิน
ข่ามีลำต้นใต้ดินที่เรียกว่า เหง้า (Rhizome) แตกออกเป็นแง่งแผ่ไปกับพื้นดิน แต่ละแง่งจะมีรากแขนงขนาดใหญ่ไม่กี่เส้นแทงลึกลงใต้ดิน

ใบ และกาบใบ
ส่วนที่อยู่เหนือดินมักเข้าใจ และเรียกเป็นลำต้น แต่ความจริงเป็นก้านใบ และใบ ที่แตกออกจากเหง้าใต้ดินเรียงซ้อนเป็นวง ซ้อนทับกันแน่น เรียกว่า ลำต้นเทียม มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ใบมีลักษณะรูปไข่ ยาวรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวเข้ม เป็นมัน และออกสลับข้างกัน

ดอก
ดอกข่าเป็นแบบช่อ แทงออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาวตรง ช่อดอกประกอบด้วยดอก 10-30 ดอก ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น และสายพันธุ์ ดอกมีขนาดเล็กคล้ายดอกกล้วยไม้ ประกอบด้วยกลีบดอกสีขาว ขาวนวล หรือขาวอมชมพู ช่อดอกที่แทงขึ้นใหม่จะมีกาบ (Spathe) สีเขียวอ่อนหุ้มอยู่ แต่เมื่อดอกบานกาบนี้จะหลุดไป

ผล
ผลมีรูปร่างกลมรี เปลือกแข็ง ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีแดงส้ม ภายในมีเมล็ดสีดำ 1 ดอก จะติดเพียง 1 ผล

ข่าชนิดอื่นที่พบในประเทศไทย

1. ข่าเล็ก
เป็นข่าพื้นเมืองของเกาะไหหลำ พบปลูกในบางพื้นที่ของภาคใต้ ลำต้นมีขนาดเล็ก เหง้ามีสีน้ำตาลปนแดง เนื้อเหง้ามีสีเหลือง มีกลิ่นฉุน และรสเผ็ดร้อนมาก นิยมมาประกอบอาหารบ้าง แต่ส่วนมากใช้ประโยชน์ทางยา โดยพบน้ำมันหอมระเหย ประมาณ 0.3-1.5% พบสารประกอบฟีนอล 4 ชนิด คือ trans-p-Coumaryl diacetate, 4-Hydroxycinnamoylaldehyde, 1´-Acetoxychavicol acetate และ β–Sitosterol

2. ข่าป่า เป็นข่าที่พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น มีลักษณะลำต้นสูง ลำต้น และใบคล้ายกับข่าที่ปลูกทั่วไป หัวมีกลิ่นฉุนน้อย

3. ข่าลิง (ข่าน้อย)
มีลักษณะลำต้นเล็ก มีสารประกอบฟีนอลหลายชนิด เช่น 1, 7-diphenyl-3,5-heptanedione, flavonoids, diarylheptanoids และ phenylpropanoids

4. ข่าคม
มีลักษณะใบมน มีขนละเอียดสีขาวปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกมีใบประดับ กลีบดอกสีขาว แผ่เป็นแผ่น และมีแถบสีเหลืองส้มบริเวณกลางกลีบดอก

5. ข่าน้ำ (เร่ว, กะลา)
เป็นข่าพื้นบ้านที่ปลูกเพื่อจำหน่ายของ อ.ปากเกล็ด จ. นนทบุรี เหง้ามีรสจืดกว่าข่า ช่อดอกสีชมพู

พันธุ์ข่า และแหล่งปลูก

– ข่า : เลย นครนายก ลพบุรี ชลบุรี ตราด
– ข่าใหญ่ : นครพนม หนองคาย ขอนแก่ อำนาจเจริญ มุกดาหาร ลพบุรี ระยอง นครศรีธรรมราช หนองลำภู พิษณุโลก
– ข่าเล็ก : นครศรีธรรมราช พิจิตร
– ข่าน้อย : สกลนคร
– ข่าหยวก : สุโขทัย เลย พิจิตร ขอนแก่น นครสวรรค์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี อำนาจ แพร่ เชียงราย
– ข่าเหลือง : ชัยนาท ตาก
– ข่าตาแดง : กำแพงเพชร นครสวรรค์ ลพบุรี กะบี่ ตรัง
– ข่าหลวง : กะบี่
– ข่าแกง : ลพบุรี อยุธยา ชัยนาท กำแพงเพชร นครสวรรค์ เลย
– ข่ากลาง : ขอนแก่น
– ข่าลิง : ชลบุรี ปราจีนบุรี

สารสำคัญที่พบ

1. น้ำมันหอมระเหย
น้ำมันหอมระเหย (Essential oils) ประกอบด้วยสารสำคัญส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เป็นสารประกอบ Terpene alcohols, Ketones, Esters, Aldehydes และสารอนุพันธ์ Phenylpropane ในเหง้าข่าแก่มีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 0.2-1.5 ของน้ำหนักแห้ง ส่วนในเหง้าสดมีประมาณร้อยละ 0.1 โดยพบสาร 1´-Acetoxychavicolacetate (ACA) ในปริมาณมาก ร้อยละ 76.5 สารเคมีที่พบรองลงมา คือ p-Coumaryl diacetate ร้อยละ 8.0, กรด Palmitic ร้อยละ 3.2 และ 1´-Acetoxyeugenol acetate (AEA) ร้อยละ 3.1 สารออกฤทธิ์ที่พบมากสุดในน้ำมันหอมระเหยในเหง้า คือ 1,8-Cineole ร้อยละ 64.2 รองลงมา คือ Limonene ร้อยละ3.7

นอกจากนั้น เหง้าข่า (A. galanga) มีสารประกอบในกลุ่ม Tetraterpenes คือ Carotenoids ประมาณ 0.6-1.1 mg% และ Tannins 17.7 mg% และยังพบกรด Ascorbic 7.9 mg% และ α–Tocopherols เพียงเล็กน้อย 0.004 mg%

น้ำมันหอมระเหยในลำต้นเทียมมีสาร trans-Caryophyllene ร้อยละ 40.9 และ β-Siliene ร้อยละ 15.8 เป็นองค์ ส่วนเปลือกลำต้นเทียมมี β-Carotenes ประมาณ 0.7 μg/g

2. สารให้กลิ่นฉุน และรสเผ็ดร้อน
สารให้กลิ่นฉุน และรสเผ็ดร้อนในเหง้าข่า โดยทั่วไปเป็นองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสารประกอบ O-methoxyphenols และPropylphenols เช่น Gingerols, Galangol และ Eugenol สารที่ให้กลิ่นข่าจะมีลักษณะเป็นผลึกสีเหลือง ไม่มีรส ประกอบด้วยสาร 3 ชนิด คือ
– Kaempferid (C16H12O6) (อนุพันธุ์ของ Flavonol) สามารถเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับกรดไนตริก ได้กรด Anisic
– Oxalic Galangin (C15H10O5) เป็นสารตั้งต้นของกรด Benzoic และ Oxalic
– Alpinin (C17H12O6)

นอกจากนั้น ยังพบสารให้กลิ่นที่สำคัญ คือ Darylheptanoids และ Phenyl alkanones

3. สารประกอบฟีนอล
สารประกอบฟีนอลพบได้ทั่วไปในพืชหลายชนิด โครงสร้างทางเคมีประกอบด้วยวงแหวนเบนซีน (C6) และมีกลุ่ม Hydroxyl เกาะอยู่ตั้งแต่ 1 กลุ่ม ขึ้นไป เรียกว่า Simple phenols เช่น Catechol Guaiacol และ Hydroquinone นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่นที่มาเกาะบนวงแหวนเบนซีน เช่น กลุ่มกรด Phenolic (C6-C1), กลุ่ม Phenylacetic (C6-C2), กลุ่ม Cinnamic Phenylpropenes, กลุ่ม Coumarins (C6-C3) และกลุ่ม Naphthoquinones (C6-C4)

สารประกอบฟีนอลเรียกโดยรวมว่า Simple polyphenols พบมากในพืชผักประเภทหัวหรือรากที่สะสมอาหาร สารนี้มีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และทำให้เกิดสีน้ำตาลของกระบวนการที่มีเอนไซม์เข้ามาเกี่ยวข้อง (Enzymatic browning)

ประโยชน์

1. ใช้ประกอบอาหาร
ข่านิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสอาหาร แต่งกลิ่น หรือดับคาว เป็นส่วนผสมของเครื่องต้มยำและพริกแกงชนิดต่างๆ โดยใช้ส่วนต่างๆ เช่น เหง้าอ่อน เหง้าแก่ แกนลำต้นเทียม และช่อดอกอ่อน
– เหง้าแก่นิยมนำมาบดให้ละเอียดเพื่อใช้เป็นส่วนผสมของพริกแกง
– เหง้าแก่ และเหง้าอ่อน นิยมใส่ในอาหารประเภทต้มหรือแกง เพื่อใช้ลดกลิ่นคาวของอาหาร เช่น ต้มยำ และแกงป่า ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมฉุน และเพิ่มรสชาติเผ็ดร้อนให้แก่อาหาร
– แกนลำต้นเทียม ช่อดอกอ่อน และเหง้าอ่อน นิยมนำมาบริโภคโดยตรงเป็นผักลวกรับประทานร่วมกับน้ำพริก
– แกนลำต้นเทียมที่อ่อน นิยมนำมาประกอบอาหารประเภทผัด เช่น ผัดเผ็ดหมูป่า ผัดเผ็ดปลาดุก ผัดเผ็ดไก่ เป็นต้น

คุณค่าทางอาหารของข่า
• พลังงาน
– เหง้าอ่อน และเหง้าแก่ 20 กิโลแคลอรี

• โปรตีน
– เหง้าอ่อน พบน้อยมาก
– เหง้าแก่ 1.3 กรัม

• ไขมัน
– เหง้าอ่อน พบน้อยมาก
– เหง้าแก่ 0.3 กรัม

• คาร์โบไฮเดรต
– เหง้าอ่อน พบน้อยมาก
– เหง้าแก่ 3.1 กรัม

• เส้นใย
– เหง้าอ่อน 1.1 กรัม
– เหง้าแก่ พบน้อย

• แคลเซียม
– เหง้าอ่อน และเหง้าแก่ 5 มิลลิกรัม

• ฟอสฟอรัส
– เหง้าอ่อน และเหง้าแก่ 27 มิลลิกรัม

• เหล็ก
– เหง้าอ่อน และเหง้าแก่ 0.1 มิลลิกรัม

• เบต้าแคโรทีน
– เหง้าอ่อน 18 ไมโครกรัม
– เหง้าแก่ 2.41 ไมโครกรัม

• วิตามินบี 1
– เหง้าอ่อน 0.13 มิลลิกรัม
– เหง้าแก่ 0.24 มิลลิกรัม

• วิตามินบี 2
– เหง้าอ่อน 0.15 มิลลิกรัม
– เหง้าแก่ 0.06 มิลลิกรัม

• ไนอาซิน
– เหง้าอ่อน และเหง้าแก่ 0.4 มิลลิกรัม

• วิตามินซี
– เหง้าอ่อน 23 มิลลิกรัม
– เหง้าแก่ 22 มิลลิกรัม

2. ทางอุตสาหกรรมอาหาร
สารสกัดฟีนอลลิกมักใช้ในการถนอมผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ป้องกันการบูดเน่า การเหม็นหืน สามารถยืดอายุการเก็บรักษาที่ 4°C

ผงจากเหง้าข่าแห้ง และสารสกัดจากเหง้าข่า ใช้ผสมกับเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูบดสุกบรรจุถุง จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น

ลูกชิ้นหมูที่เติมสารสกัดจากเหง้าข่า สามารถยืดอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4°C ได้เป็นเวลา 10 วัน นอกจากนี้การใช้ผงข่าผสมในการทำขนมปัง เค้ก จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้นานมากกว่า 6 วัน

3. ประโยชน์ใช้สอย
– ใบ ใช้เป็นวัสดุห่อขนม ของหวาน หรือรองอาหาร
– ลำต้นหรือกาบใบ ใช้ทำเป็นเชือกรัดของ
– ใช้เป็นส่วนผสมของสารกำจัด และป้องกันศัตรูพืช

สรรพคุณข่า

คนไทยยังนำเหง้าข่ามาผลิตเป็นตำรับยาแผนโบราณและใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บมาเป็นเวลานาน เช่น ยาระบายขับลม ยาขับเลือดเสีย ยาแก้บ่วง ยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน และลมพิษ
– ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังหลายชนิด เช่น กลาก เกลื้อน
– เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษ เช่น Streptococcus cerevisiae, Streptococcus epidermidis, Bacillus cereus และ Bacillus megaterium
– น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ และลดอาการจุกเสียด
– น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย
– น้ำมันหอมระเหยในราก และเหง้าข่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง
– สารประกอบฟีนอล ACA เป็นสารให้รสเผ็ดร้อนที่พบในเหง้าข่า มีคุณสมบัติยับยั้งการเกิดเนื้องอก และเซลล์มะเร็งได้
– สารประกอบฟีนอลในเหง้าข่าช่วยยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ต้านเชื้อวัณโรค ต้านภูมิแพ้ และต้านอนุมูลอิสระ
– สารประกอบฟีนอลช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ เช่น ยับยั้งเอนไซม์ protease จากเชื้อไวรัส HIV-1 และ Human cytomegalovirus (HCMV)

• เหง้าแก่ เหง้าอ่อน :
– ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
– รักษาโรคเบาหวาน
– แก้หอบหืด แก้เสมหะ ลดไข้
– ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร
– ช่วยขับเหงื่อ ทำให้ร่างกายสดชื่น
– แก้บิด แก้ท้องร่วง
– ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ผิวพรรณแลดูอ่อนเยาว์
– ต้านเชื้อไวรัส ลดปริมาณเชื้อเอดส์

• แกนอ่อนต้นเทียม :
– แก้ท้องร่วง
– ขับปัสสาวะ
– ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร

• ใบ:
– แก้ฟกช้ำ
– แก้นิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ
– บำรุงสายตา

• ดอก :
– บำรุงประสาท
– แก้ขัดปัสสาวะ
– ช่วยย่อยอาหาร และเจริญอาหาร

• ราก:
– แก้จุกเสียดแน่นท้อง
– ช่วยเจริญอาหาร
– แก้ท้องเสีย
– ลดอาการไอ ขับเสมหะ

• ผล :
– ลดไข้ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ
– ลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ต้านอนุมูลอิสระ

ข้อควรระวัง

1. การรับประทานจำนวนมากมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
2. อาจทำให้เกิดอาการแพ้ในบางรายที่มีภูมิไวต่อข่า เช่น ผื่นแดงตามตัว วิงเวียนศรีษะ เป็นต้น
3. หญิงมีครรภ์ไม่ควรรับประทานมาก อาจมีผลทำให้แท้งได้
4. ผู้ป่วยนิ่วในถุงน้ำดีควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากขิงมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี

การปลูกข่า

ข่าจัดเป็นพืชล้มลุกที่มีลักษณะเนื้ออ่อน เหมือนขิง ขมิ้น เป็นพืชที่มีอายุมากกว่า 1 ปี สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ดินชุ่มชื้น และไม่มีน้ำท่วมขัง

การปลูกนิยมปลูกด้วยการแยกเหง้า โดยปลูกช่วงต้นฝนหรือในฤดูฝน เตรียมแปลงด้วยการไถดะ และตากดิน ประมาณ 7 วัน พร้อมกำจัดวัชพืช จากนั้น ไถพรวนดินให้ละเอียดอีกครั้ง และตากแดดประมาณ 2-5 วัน ก่อนปลูก

การเตรียมเหง้าปลูก เหง้าที่ใช้ควรเป็นเหง้าแก่ อายุมากกว่า 1 ปี โดยให้ตัดต้นเทียมออก โดยให้เหลือต้นเทียม 1-2 ต้น ที่ติดกับเหง้าสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร เหง้ามีแง่งประมาณ 1-2 แง่ง และให้ตัดรากที่ยาวทิ้ง

การปลูกในแปลงใหญ่หรือในพื้นที่ว่างที่ปลูกจำนวนน้อย ระยะปลูก ประมาณ 80×80 เซนติเมตร ด้วยการขุดหลุม ขนาด 20×20×20 เซนติเมตร (กว้าง×ยาว×ลึก) ใส่ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีรองก้นหลุมเล็กน้อยพร้อมคลุกกับดินล่างให้เข้ากัน ใช้เหง้าพันธุ์อายุประมาณ 1 ปี ขึ้นไป ใส่หลุมละ 1-2 เหง้า

การปลูกในแปลงใหญ่ นิยมไถยกร่องลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร ระยะห่างร่องประมาณ 70-80 เซนติเมตร จากนั้น โรยด้วยปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 เล็กน้อยตามแนวยาวของร่อง ก่อนวางเหง้าข่า 1-2 เหง้า ตามความยาวของร่องที่ระยะห่างแต่ละจุดประมาณ 70-80 เซนติเมตร แล้วจึงคราดดินบนกลบตลอดแนว

การเก็บผลผลิต

– ต้นอ่อน ให้เก็บที่อายุ 6-10 เดือน โดยการขุดทั้งกอ ตัดลำต้นเทียม ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และลอกกาบใบออกจนเหลือแกนอ่อนสำหรับขาย แบ่งเหง้าออกล้างให้สะอาดก่อนการบรรจุจำหน่ายเป็นข่าอ่อน

– ต้นแก่ ให้เก็บที่อายุ 1 ปี หรือเริ่มออกดอก โดยการขุดทั้งกอ ตัดลำต้นเทียม ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และลอกกาบใบออกจนเหลือแกนอ่อนสำหรับขาย แบ่งเหง้าออกล้างให้สะอาดก่อนการบรรจุจำหน่ายสำหรับการสกัดน้ำมันหรือแปรรูปอื่นๆ

การแปรรูปข่า

1. เครื่องดื่มข่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข่าบดแห้งชงน้ำดื่ม ผสมกับน้ำตาล น้ำมะนาว ให้ได้รสชาติตามต้องการ
2. ข่าแห้ง นิยมผลิตจากข่าแก่เพื่อเก็บรักษาให้ได้นาน ด้วยการทำแห้ง เช่น ใช้เครื่องเป่าลมร้อนหรือตากแดด หรืออบแห้ง
3. ผงข่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข่าแห้ง และนำมาบดให้เป็นผงสำหรับนำมาชงน้ำดื่มหรือใช้สำหรับประกอบอาหาร เป็นเครื่องเทศ เป็นผงข่าสำเร็จรูปที่สะดวก และง่ายต่อการบริโภค

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

เฉพาะลูกค้าที่เข้าสู่ระบบ และเคยซื้อสินค้าชิ้นนี้แล้วเท่านั้น ที่เขียนบทวิจารณ์ได้