อัญชัน พันธุ์ดาหลา

อัญชัน พันธุ์ดาหลา

35฿

อัญชัน (butterfly pea หรือ blue pea) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Clitoria ternatea Linn. จัดอยู่ในวงศ์ Fabaceae ซึ่งเป็นวงศ์ของถั่วในกลุ่มถั่วฝักเมล็ดกลม (pea) เช่น ถั่วลันเตา (green pea) ถั่วแระต้น (congo pea) ถั่วพู (manila pea) มีชื่อเรียกอื่นๆ คือ แดงชัน (เชียงใหม่) เอื้องชัน (เหนือ) เป็นต้น ลักษณะลำต้นเป็นไม้เลื้อยล้มลุก สามารถพบได้ทั่วไปในป่าโล่งแจ้ง หรือในที่กึ่งร่ม ทั้งป่าเบญจพรรณในพื้นล่างจนไปถึงป่าดิบเขาสูง ในต่างประเทศพบในทุกประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และหมู่เกาะแปซิฟิก (1, 2)

เมื่อกล่าวถึงอัญชัน โดยทั่วไปมักนึกถึงดอกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอาง หรือใช้เป็นสีผสมอาหารและเครื่องดื่ม แท้จริงแล้วสรรพคุณของอัญชัน สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น ซึ่งการใช้อัญชันเป็นยาพื้นบ้านนั้น ส่วนราก ใช้ฝนเอาน้ำหยอดตา แก้ตาเจ็บ ตาฟาง บำรุงดวงตา หรือผสมทำยาสีฟัน แก้ปวดฟัน และใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายท้อง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ใบและราก ฝนเอาน้ำหยอดตา แก้ตาแฉะ ตาฟาง ดอก ตำเป็นยาพอก หรือคั้นเอาน้ำทาแก้ฟกบวม แก้พิษแมลงกัดต่อย และใช้สระผมเป็นยาแก้ผมร่วง เมล็ด ใช้กินเป็นยาระบายท้อง (2) นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์ในต่างประเทศ ตามตำราอายุรเวทศาสตร์ของอินเดีย อัญชันถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่พืชที่มีสรรพคุณบำรุงสมอง โดยได้มีการนำส่วนรากและเมล็ดของอัญชันมาใช้เป็นยาสำหรับบำรุงร่างกาย บำรุงสมอง และบำรุงความจำ รวมถึงใช้เป็นยาระบายและขับปัสสาวะ และในแถบอเมริกามีรายงานการใช้น้ำต้มจากส่วนรากเพียงอย่างเดียวหรือน้ำต้มจากรากและดอกร่วมกันเป็นยาบำรุงโลหิต ส่วนเมล็ดใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และขับพยาธิ (3, 4)

เมื่อกล่าวถึงอัญชัน โดยทั่วไปมักนึกถึงดอกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอาง จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจากส่วนต่างๆ ของอัญชันเป็นจำนวนมาก มีการทดสอบในสัตว์ทดลอง สารสกัดชนิดต่างๆ ที่ได้จากส่วนลำต้นเหนือดิน ใบ ดอก และรากของอัญชันมีฤทธิ์กระตุ้นการเรียนรู้และความจำ ช่วยคลายความเครียดและวิตกกังวล มีฤทธิ์ช่วยในการนอนหลับ ลดน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ แก้ปวด และต้านการอักเสบ (5-20) รวมถึงการใช้ประโยชน์ในด้านเครื่องสำอางก็มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า สารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชันมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ยับยั้งการเจริญของเส้นขน และมีฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นขนของหนูแรท (21) นอกจากนี้ สารสกัดเมทานอลจากดอกอัญชันยังมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างเซลล์เม็ดสีเมลานิน และกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ melanocyte เมื่อทำการทดสอบในหลอดทดลอง (22) และในการทดสอบฤทธิ์ของอัญชันในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับบำรุงผิวพบว่า มีการนำสารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากดอกอัญชันไปเป็นส่วนประกอบในเจลสำหรับทารอบดวงตา ซึ่งจะได้ประโยชน์จากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ (23)

เมื่อกล่าวถึงอัญชัน โดยทั่วไปมักนึกถึงดอกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอาง แม้ว่าจะมีงานวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจำนวนมาก แต่งานวิจัยทั้งหมดยังเป็นข้อมูลที่ศึกษาในระดับสัตว์ทดลองไม่มีรายงานการวิจัยในคน จึงยังไม่สามารถระบุขนาดและวิธีใช้ที่เหมาะสมได้ แต่ในประเทศไทยนั้น มักพบการใช้ประโยชน์ของดอกอัญชันเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบางชนิด และใช้สีจากดอกเป็นส่วนผสมในขนมและอาหาร หรือใช้ดอกแห้งชงเป็นเครื่องดื่ม ซึ่งการใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคควรระมัดระวังการรับประทานร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดหรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน และ warfarin เป็นต้น เนื่องจากมีรายงานว่าสาร ternatin D1 ในดอกอัญชันมีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (3) ซึ่งอาจมีผลเสริมฤทธิ์กันจนเกิดอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ต้องใช้ยาดังกล่าวเป็นประจำ หากต้องการบริโภคดอกอัญชันในรูปแบบเครื่องดื่มหรือชาชง ไม่ควรชงในขนาดความเข้มข้นมาก และไม่ควรดื่มแทนน้ำ ส่วนข้อควรระวังสำหรับการใช้ภายนอกร่างกายคือ ควรระมัดระวังในผู้ที่มีอาการแพ้ดอกไม้ชนิดต่างๆ ให้หมั่นสังเกตตนเอง หากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอัญชันแล้วก่อให้เกิดอาการระคายเคืองควรหยุดใช้ทันทีสามารถติดตามอ่านข้อมูลงานวิจัยของอัญชันโดยละเอียดได้ในจุลสารข้อมูลสมุนไพรฉบับ 32(1) เดือนตุลาคม 2557

วิธีการสั่งซื้อจากร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์

ท่านสามารถติดต่อและสั่งซื้อพรรณไม้จากร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางดังนี้:

  • เฟซบุ๊กแฟนเพจ: Chiangmaigardens
  • โทรศัพท์: 0850356187
  • ไลน์ไอดี: @0850356187

หมายเหตุเกี่ยวกับการสั่งซื้อ:

  • ราคาสินค้าจะแตกต่างกันตามขนาดและประเภทของต้นไม้ ภาพที่แสดงเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น สินค้ามีการเข้าออกตลอดเวลา กรุณาสอบถามสถานะและรายละเอียดสินค้าก่อนสั่งซื้อเพื่อความมั่นใจ
  • แม่ค้าจะคำนวณค่าจัดส่งตามขนาด ปริมาตร และจำนวนที่สั่งซื้อ ทั้งนี้ เพื่อให้คุณได้รับราคาที่เหมาะสมที่สุด
  • ในการจัดส่ง ต้นไม้อาจจะถูกบรรจุในถุงดำเนื่องจากข้อจำกัดในการจัดส่ง บางครั้งต้นไม้ไม่สามารถใส่กล่องได้ เพื่อเป็นการลดภาระและความยุ่งยากในการจัดส่ง

ขอบคุณที่เลือกซื้อสินค้ากับร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ค่ะ เราพร้อมยินดีให้บริการค่ะ

คำอธิบาย

อัญชัน พันธุ์ดาหลา

สรรพคุณของอัญชัน

  1. สรรพคุณอัญชันน้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  2. เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
  3. มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
  4. ประโยชน์ของดอกอัญชัน มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  5. ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
  6. ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
  7. ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก)
  8. อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกเดาเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
  9. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
  10. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
  11. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
  12. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
  13. อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
  14. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
  15. ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตามเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก)
  16. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  17. นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก)
  18. นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟัน และทำให้ฟันแข็งแรง (ราก)
  19. ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด)
  20. อัญชันสรรพคุณใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
  21. แก้อาการปัสสาวะพิการ
  22. สรรพคุณอัญชันใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก)
  23. ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
  24. นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
  25. ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
  26. ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผักก็ได้ เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
  27. น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก)
  28. ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก)
  29. ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น
  30. ประโยชน์ของอัญชันข้อสุดท้ายคือนิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม

วิธีการปลูกต้นอัญชัน

การปลูก ต้นอัญชัน นั้นไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลยเพราะอย่างที่บอกไปตั้งแต่แรกว่าแต่ก่อนมันก็มักจะขึ้นเองตามธรรมชาติและอยู่ได้โดยไม่ต้องบำรุงรักษาอะไรอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงว่าเราจะปลูกไม่ได้ โดยในการปลูกก็ให้นำเมล็ดแห้งของต้นอัญชันไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน ต่อจากนั้นก็ให้นำไปห่อผ้าทิ้งไว้อีก 2-3 วัน เพื่อให้รากงอก จากนั้นนำไปปลูกลงกระถาง เพื่อเป็นการเพาะต้นกล้า เมื่อต้นกล้าโตพอก็นำมาลงแปลงปลูกที่เตรียมไว้

เมื่อปลูกลงแปลงแล้วให้ทำคานเพื่อเป็นที่เกาะยึดของต้นอัญชัน หรือไม่ก็ทำไม้ระแนงหรือปักรั้วให้เถาของต้นอัญชันยึดเกาะ นอกจากนั้นก็ให้ทำการรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยต้นอัญชันนั้นจะขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย และควรจะมีการระบายน้ำที่ดี ดังนั้นก่อนปลูกควรจะดูพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมด้วย

การดูแลรักษาต้นอัญชัน

แสง อัญชันเป็นไม้กลางแจ้งที่มีความต้องการแสงพอสมควร แต่ก็ไม่ถึงกับต้องการแสงจัดมาก
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง การรดน้ำจะต้องไม่ถึงกับแฉะ รดน้ำแต่พอชุ่มก็พอ และควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและช่วงเย็น
ดิน อัญชันจะขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกผสมกับดินปลูก

การนำอัญชันไปใช้งาน

การทำน้ำดอกอัญชัน

น้ำดอกอัญชัน 4-5 ดอก ต้มใส่น้ำ 2-3 ลิตร เต็มน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง ปรุงรสตามต้องการ สามารถดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น

พั๊นซ์น้ำดอกอัญชัน

นำโซดา 1 ขวด น้ำดอกอัญชัน ½ ถ้วย น้ำเชื่อม 6 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว ½ ถ้วย ผสมรวมกันแล้วชิมรสชาติตามความต้องการ เติมน้ำแข็งเกล็ดเพื่อเพิ่มรสชาติ ใช้ดื่มตามต้องการ

ใช้บำรุงผม

นำดอกอัญชันมาคั้นเอาแต่น้ำใช้ชโลมผิวหนังศีรษะให้ทั่ว ทิ้งไว้ 15-30 นาทีแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

นำเป็นผักหรือเครื่องปรุงอาหาร

ใช้ชุบแป้งทอด หรือเป็นผักกินสดหรือลวกจิ้มน้ำพริกตามต้องการ

สูตรปลูกผม

ใช้ดอกอัญชัน 10 แช่ในเหล้าขาวสักครู่ ขยี้ให้จนเข้ากันแล้วนำไปชโลมศีรษะทั้งไว้ 4-5 ชั่วโมง แล้วล้างออก ทำต่อเนื่องประมาณ 2-3 สัปดาห์จะเริ่มเห็นผล

โทษของอัญชัน

แม้จะมีคุณอนันต์ ก็มีโทษมหันต์ได้เหมือนกันหากใช้แล้วไม่ศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เนื่องจากอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือดจึงทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ดังนั้นผู้ป่วยโรคดังกล่าวจึงไม่ควรดื่ม หรือกินดอกอัญชันหรือน้ำอัญชันโดยเด็ดขาด และการดื่มน้ำอัญชันที่เข้มข้นมากเกินไปก็อาจมีผลต่อการทำงานของไตให้ทำงานหนักต่อการขับสีจากดอกอัญชันออกจากร่างกาย ดังนั้น จึงไม่ควรดื่มหรือกินดอกอัญชันในปริมาณมากเกินไป เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์และสรรพคุณเต็มที่

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

เฉพาะลูกค้าที่เข้าสู่ระบบ และเคยซื้อสินค้าชิ้นนี้แล้วเท่านั้น ที่เขียนบทวิจารณ์ได้

Login

Lost your password?