เมล็ดมะเขือขื่น

เมล็ดมะเขือขื่น: สมุนไพรอาหารของชาวล้านนา

 เมล็ดมะเขือขื่น

50฿

ขายเมล็ดมะเขือขื่น ที่ร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ เราจำหน่ายเมล็ดมะเขือขื่นคุณภาพดี พร้อมข้อมูลการปลูกและสรรพคุณครบถ้วน มะเขือขื่น หรือที่เรียกในชื่อท้องถิ่นต่าง ๆ เช่น มะเขือแจ้ดิน มะเขือเปราะ มะเขือเสวย เป็นต้น เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีรสขมและขื่นเล็กน้อย ใช้ในการปรุงอาหารหลากหลายประเภทและมีสรรพคุณทางยามากมาย

การใช้ผลมะเขือขื่นในอาหาร:

มะเขือขื่นเป็นส่วนหนึ่งของอาหารพื้นบ้านล้านนา โดยใช้ผลอ่อนรับประทานทั้งผลเป็นผักจิ้มหรือผักแกง รสขมและขื่นเล็กน้อย หรือนำมายำเรียก “ส้าบ่าเขือแจ้” หรือใช้ใส่ในน้ำพริก เช่น น้ำพริกอี่เก๋ น้ำพริกบ่าเขือแจ้ นอกจากนี้ยังมีการนำผลแก่ไปเผาสุก ตำให้ละเอียดแล้วผสมลงในเนื้อสับที่จะทำลาบจิ๊น (ลาบเนื้อหรือลาบหมู) ช่วยทำให้ลาบนั้นนุ่มเหนียวขึ้น ซึ่งเป็นอาหารที่อร่อยและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ที่ เชียงใหม่การ์เด้นส์ เราพร้อมให้บริการเมล็ดมะเขือขื่นคุณภาพดี เพื่อให้ท่านสามารถเพลิดเพลินกับการปลูกและบริโภคสมุนไพรพื้นบ้านที่มีคุณค่านี้ได้อย่างเต็มที่

SEED007. In stock . .

วิธีการสั่งซื้อจากร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์

ท่านสามารถติดต่อและสั่งซื้อพรรณไม้จากร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางดังนี้:

  • เฟซบุ๊กแฟนเพจ: Chiangmaigardens
  • โทรศัพท์: 0850356187
  • ไลน์ไอดี: @0850356187

หมายเหตุเกี่ยวกับการสั่งซื้อ:

  • ราคาสินค้าจะแตกต่างกันตามขนาดและประเภทของต้นไม้ ภาพที่แสดงเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น สินค้ามีการเข้าออกตลอดเวลา กรุณาสอบถามสถานะและรายละเอียดสินค้าก่อนสั่งซื้อเพื่อความมั่นใจ
  • แม่ค้าจะคำนวณค่าจัดส่งตามขนาด ปริมาตร และจำนวนที่สั่งซื้อ ทั้งนี้ เพื่อให้คุณได้รับราคาที่เหมาะสมที่สุด
  • ในการจัดส่ง ต้นไม้อาจจะถูกบรรจุในถุงดำเนื่องจากข้อจำกัดในการจัดส่ง บางครั้งต้นไม้ไม่สามารถใส่กล่องได้ เพื่อเป็นการลดภาระและความยุ่งยากในการจัดส่ง

ขอบคุณที่เลือกซื้อสินค้ากับร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ค่ะ เราพร้อมยินดีให้บริการค่ะ

คำอธิบาย

ลักษณะต้นมะเขือขื่น:

ต้นมะเขือขื่นเป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม่พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร มีหนามสั้นตามลำต้นและกิ่งก้าน มีขนอ่อนละเอียดสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบ ดอกออกเป็นช่อสั้นแบบช่อกระจะ มีดอกย่อยประมาณ 4-6 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีม่วง ผลเป็นรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองสด มีรสขื่นและมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการ:

มะเขือขื่นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือขื่นต่อ 100 กรัม ประกอบไปด้วย วิตามินซี 63 มิลลิกรัม, แคลเซียม 55 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม ฯลฯ

การปลูกมะเขือขื่น:

มะเขือขื่นขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มักพบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ป่าเปิด ป่าละเมิด ทุ่งหญ้า ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-2,300 เมตร การดูแลรักษาต้นมะเขือขื่นไม่ยาก เพียงให้ได้รับแสงแดดเพียงพอและรดน้ำสม่ำเสมอ

ขาย เมล็ดมะเขือขื่น สมุนไพรอาหารของชาวล้านนา ใช้ผลอ่อน รับประทานทั้งผล เป็นผักจิ้มหรือผักแกง มีรสขมและขื่นเล็กน้อย หรือนำมายำเรียก “ส้าบ่าเขือแจ้” หรือใช้ใส่ในน้ำพริก เช่น น้ำพริกอี่เก๋ น้ำพริกบ่าเขือแจ้ เป็นต้น บ้างนำผลแก่ไปเผาสุก ตำให้ละเอียดแล้วผสมลงในเนื้อสับที่จะทำลาบจิ๊น (ลาบเนื้อหรือลาบหมู) ช่วยทำให้ลาบนั้น นุ่มเหนียวขึ้น

มะเขือขื่น มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะเขือแจ้ดิน มะเขือเปราะ มะเขือเสวย (เชียงใหม่), มังคิเก่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เขือเพา (นครศรีธรรมราช), มะเขือขันคำ มะเขือคำ มะเขือคางกบ มะเขือแจ้ มะเขือเหลือง (ภาคเหนือ), เขือหิน (ภาคใต้) เป็นต้น

ต้นมะเขือขื่น สันนิษฐานว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม่พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีหนามสั้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไป มีขนรูปดาวยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร และยังพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งลำต้น มีหนามตรงหรือโค้งขนาดประมาณ 1-5 x 2-10 มิลลิเมตร โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง สำหรับการปลูกมะเขือขื่นนั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มักพบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ป่าเปิด ป่าละเมิด ทุ่งหญ้า ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-2,300 เมตร

ใบมะเขือขื่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของแผ่นใบมีหลายรูปร่าง แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเป็นรูปหัวใจ ฐานใบทั้งสองด้านจะเยื้องกันเล็กน้อย ส่วนขอบใบหยักเว้าเป็นพูตื้น ๆ ประมาณ 5-7 พู มีขนาดกว้างประมาณ 4-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5-18 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเรียบเป็นมัน แผ่นใบมีขนรูปดาวทั้งสองด้าน มีหนามแหลมตามเส้นกลางใบ ก้านใบอ้วนสั้น ยาวได้ประมาณ 3-7 เซนติเมตร และอาจพบหนามตามก้านใบ

ดอกมะเขือขื่น ออกดอกเป็นช่อสั้นแบบช่อกระจะ มีดอกย่อยประมาณ 4-6 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ก้านช่อยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร มีขนห่างยาว ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบเป็นสีม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปหอก ขนาดประมาณ 4×14 มิลลิเมตร มีขนนุ่มเหมือนวงกลีบเลี้ยง ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ติดอยู่จนติดผล แต่ละแฉกเป็นรูปหอกแกมรูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 5×15 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม วงกลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูประฆังขนาดประมาณ 5.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรสีเหลือง 5 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร อับเรณูเป็นรูปหอก เรียวแหลม ขนาดประมาณ 6-7 มิลลิเมตร รังไข่เกลี้ยง ส่วนก้านชูเกสรเพศเมียยาวได้ประมาณ 6-7 มิลลิเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม

ผลมะเขือขื่น ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน เปลือกเหนียว ผลอ่อนผิวจะเรียบลื่นเป็นสีเขียวเข้ม มีลายขาวแทรก เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองสด ชั้นเนื้อผลบางมีสีเขียวอ่อนอมสีเหลืองใส มะเขือขื่นจะมีกลิ่นเฉพาะ โดยจะมีรสขื่น ภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.8 มิลลิเมตร โดยจะติดผลช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของมะเขือขื่น

  1. ผลมีรสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ผล)
  2. รากและผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้สันนิบาต (ราก,ผล)
  3. ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ไข้ที่มีพิษร้อน ช่วยกระทุ้งพิษไข้ (ราก)
  4. ผลและรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ (ราก,ผล)
  5. รากมีรสขื่นเอียน เปรี้ยวเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะและน้ำลาย โดยจะช่วยล้างเสมหะในลำคอ และทำให้น้ำลายน้อยลง ทำให้น้ำลายแห้ง (ราก)
  6. ผลมีสรรพคุณเป็นยากัดเสมหะ (ผล)
  7. ช่วยแก้น้ำลายเหนียว (ราก,ผล)
  8. ใช้แก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ราก 15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำอมในปาก (ราก)
  9. รากใช้ฝนเป็นกระสายยาแก้เด็กเป็นโรคทรางชัก (ราก)
  10. ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
  11. รากใช้ปรุงร่วมกับยาอื่น เป็นยาแก้กามตายด้านและบำรุงความกำหนัดได้ผลดีในระดับหนึ่ง (ราก)
  12. ใช้เป็นยาแก้อัณฑะอักเสบ ด้วยการใช้ 15 กรัม, หญ้าแซ่ม้า 15 กรัม และต้นทิ้งถ่อน นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
  13. ใบสดใช้ภายนอกนำมาตำพอกแก้พิษ แก้ฝีหนอง (ใบสด)
  14. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยารักษามะเร็งเพลิง (เมล็ด)
  15. ช่วยแก้อาการปวดบวม ปวดหลัง ฟกช้ำดำเขียว และใช้เป็นยาขับน้ำชื้น (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
  16. ใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้น แก้อาการปวดข้อเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ไขข้ออักเสบ มือเท้าชา ด้วยการใช้ผลสดประมาณ 70-100 กรัม นำมาตุ๋นกับไตหมูรับประทาน (ผล)
  17. เนื้อมะเขือขื่นสีเขียวนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้หยอดตาแก่ แก้พยาธิในตา (เนื้อผล)
  18. สารสำคัญในมะเขือขื่น คือสารอัลคาลอยด์ต่าง ๆ ในทางเภสัชกรรมล้านนา จะใช้สารดังกล่าวเป็นส่วนประกอบในตำรับยาหลายชนิด เช่น ยาบำรุงกำลัง, ยาเสลด (ยาแก้เสมหะและรักษาตาต้อ), ยายางเหลืองมักเป็นขางเขี้ยนขาว (ยารักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน), ยาแก้ไอ ขับเสมหะ แก้อาเจียน รักษาแผลเป็นหนองและหืด เป็นต้น
  19. ในชนบททางภาคกลางของบ้านเรา จะใช้ใบปรุงเป็นยาร่วมกับใบสมุนไพรชนิดอื่น ๆ และยังเชื่อว่าในท้องถิ่นและภาคอื่น ๆ ของไทย คงนำมะเขือขื่นไปใช้เป็นยารักษาโรคอีกมากมาย แต่ในปัจจุบันยังขาดการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเป็นเอกสารเผยแพร่ ประกอบกับมียาแผนปัจจุบันเข้ามาแทน จึงทำให้มีการนำมะเขือขื่นมาใช้เป็นยาลดน้อยลง (ใบ)

ประโยชน์ของมะเขือขื่น

  • คนไทยนิยมนำผลมะเขือขื่นที่แก่แล้วมาใช้ปรุงเป็นอาหาร โดยจะใช้เฉพาะส่วนเปลือกและเนื้อเท่านั้น (แยกเมล็ดทิ้ง) โดยอาจนำมาใช้กินเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกหรือปลาร้า มีบางครั้งจะใช้เนื้อผลในการปรุงเครื่องจิ้ม เช่น เยื่อเคยทรงเครื่อง ฯลฯ ปรุงอาหารกับส้มผัก เช่น ส้มผักบั่ว ส้มผักกาด หรือจะนำมาใช้ปรุงรสอาหารบางชนิด ฝานเปลือกใส่ในส้มตำอีสาน ส้มตำลาว โดยรสขื่นจะช่วยลดความเค็มของปลาร้าได้ ทำให้ชาติส้มตำมีรสกลมกล่อม หรือนำมาใช้ยำกับสาหร่าย ใช้ตำกับผลตะโกและมะขามที่เรียกว่าเมี่ยง ส่วนในภาคกลางจะใช้เนื้อนำมาทำแกง เช่น แกงส้มมะเขือขื่น แกงป่าต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนชาวล้านนาจะใช้ผลอ่อนนำมารับประทานทั้งผล ใช้เป็นผักจิ้มและผักแกง นำมายำ (ส้าบ่าเขือแจ้”) ใช้ใส่ในน้ำพริก (น้ำพริกอี่เก๋ น้ำพริกบ่าเขือแจ้) บ้างนำผลแก่ไปเผาให้สุกตำจนละเอียดแล้วผสมลงในเนื้อสับที่จะทำลาบเนื้อหมูหรือลาบเนื้อ โดยจะช่วยทำให้ลาบนั้นนุ่มเหนียวยิ่งขึ้น อาจมีคนสงสัยว่ามะเขือขื่นที่ทั้งเหนียวและขื่นจะมีรสชาติอร่อยได้อย่างไร เพราะต่างจากมะเขือทั่วไปที่มีความกรอบและความหวาน แต่ด้วยภูมิปัญญาบวกกับฝีมือคนไทย จึงทำให้ความขื่นและความเหนียวกลายเป็นอาหารที่อร่อยมีเอกลักษณ์ไปได้ เช่นเดียวกับชะอมที่ยังคงเป็นเสน่ห์สำหรับคนไทยนั่นเอง
  • มะเขือขื่นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือขื่น ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย วิตามินซี 63 มิลลิกรัม, แคลเซียม 55 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม ฯลฯ

หมายเหตุ : เชื่อกันว่าหากรับประทานเขือเข้าไปมาก ๆ จะทำให้มีความรู้สึกทางเพศสูง ส่วนในหญิงตั้งครรภ์นั้นหากรับประทานมะเขือขื่น เชื่อว่าครรภ์จะโตมาก ทำให้คลอดบุตรได้ยาก

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

เฉพาะลูกค้าที่เข้าสู่ระบบ และเคยซื้อสินค้าชิ้นนี้แล้วเท่านั้น ที่เขียนบทวิจารณ์ได้

Login

Lost your password?