คำอธิบาย
ร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ขายเมล็ดยี่หร่า หรือในชื่ออื่นๆ คือ โหระพาช้าง กะเพราควาย กะเพราญวน และหอมป้อม สำหรับเพาะปลูก ขายเมล็ดยี่หร่า ราคาถูก เชียงใหม่
ยี่หร่ามีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น โหระพาช้าง กะเพราควาย กะเพราญวน และหอมป้อม แต่ทั้งหมดล้วนหมายถึง ผักที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ocimum grastissimum L. ลักษณะคล้ายโหระพา แต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า แผ่นใบสาก สีเขียวเข็ม ปลายใบแหลม ขอบใบจัก มีกลิ่นหอมฉุนและรสเผ็ดร้อนเป็นเอกลักษณ์ นิยมนำไปผัดกับเนื้อสัตว์เพื่อดับกลิ่นคาว รวมถึงใส่ในแกงต่าง ๆ เช่น แกงคั่วหรือแกงป่า
ใบยี่หร่า 100 กรัม มีเส้นใยอาหารมากถึง 5.9 กรัม มีวิตามินบี 3 หรือไนอะซิน 8.2 มิลลิกรัม จึงช่วยในการทำงานของระบบประสาท ทั้งยังเป็นแหล่งที่ดีของเบตาแคโรทีนและวิตามินเอ ช่วยทำลายอนุมูลอิสระที่เร่งกระบวนการแก่ภายในร่างกาย ช่วยให้ผิวพรรณอ่อนเยาว์และดีต่อดวงตา ใบยี่หร่ามีสรรพคุณทางยาคือ บรรเทาอาการไอขับเหงื่อ ช่วยย่อย ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับเสมหะ และช่วยทำความสะอาดลำไส้
เมล็ดยี่หร่า (Cumin) ที่ใช้เป็นเครื่องเทศนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นเมล็ดจากต้นยี่หร่า แต่ด้วยชื่อที่ซ้ำกันจึงทำให้ใครหลายคนสับสน เมล็ดยี่หร่ามาจากต้นเทียนขาว ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuminumcyminum L. เป็นพืชที่มีใบคล้ายผักชีลาวและอยู่ในวงศ์เดียวกัน เมล็ดมีลักษณะยาวรีและแบน เมล็ดอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลให้รสเผ็ดร้อน ขมหวาน เป็นเครื่องเทศที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยนำไปคั่วไฟอ่อน ๆ เพื่อเพิ่มความหอม แล้วโขลกใส่ในอาหาร เช่น มัสมั่น พะแนง หรือแกงกะหรี่
ส่วนยี่หร่า หรือเทียนข้าวเปลือก ที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่าเฟนเนล (fennel) เป็นพืชที่เจริญเติมโตได้ดีในอากาศหนาวเย็น มีเมล็ดที่คล้ายกับเมล็ดยี่หร่า (cumin) มาก จนหลายคนอาจสับสน ข้อสังเกตที่พอจะช่วยแยกความแตกต่างได้ก็คือ เมล็ดเฟนเนลจะมีขนาดใหญ่กว่า สีอ่อนกว่า รสชาติหวานและเย็น นิยมใช้หมักเนื้อสัตว์ ส่วนโคนต้นที่อวบนุ่มก็ยังกินเป็นผักได้ด้วย
ลักษณะของยี่หร่า
ต้นยี่หร่า เป็นไม้พุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ แตกกิ่งก้านสาขาขนาดเล็ก กิ่งก้านไม่ใหญ่ ในช่วงปีแรกและปีที่สองจึงออกดอกออกผล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลางในสภาพกลางแจ้ง
ใบยี่หร่า เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียวสด ผิวใบสากมือ ใบยี่หร่ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสร้อน จึงช่วยดับกลิ่นคาวจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี
ดอกยี่หร่า ออกดอกเป็นช่อที่บริเวณปลายยอด ช่อดอกนั้นจัดเป็นแบบ Spike-like raceme ดอกจะบานจากล่างไปหาปลายช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอก
ผลยี่หร่า หรือ เมล็ดยี่หร่า มีลักษณะเป็นรูปกลมรี แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว แต่พอสุกหรือแก่แล้วจะกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ซึ่งผลจะนิยมนำมาตากแห้งหรือนำไปอบแห้ง เพื่อใช้ทำเป็นเครื่องเทศที่ใช้ประกอบอาหารเพื่อช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหารน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น และยังช่วยดับกลิ่นคาวได้ดีเหมือนกับใบ
สรรพคุณของยี่หร่า
- สมุนไพรยี่หร่า สามารถช่วยยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งได้ (ใบ)
- สรรพคุณยี่หร่าช่วยในการบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
- ใบยี่หร่าอุดมไปด้วยวิตามินซีและธาตุแคลเซียม ซึ่งมีสรรพคุณในการช่วยขับเหงื่อซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย (ใบ)
- ใบยี่หร่ามีสรรพคุณช่วยแก้อาการคลื่นไส้ ด้วยการใช้ใบนำมาชงเป็นชาดื่มจนกว่าจะหาย (ใบ)
- ยี่หร่ามีสรรพคุณช่วยแก้โรคเบื่ออาหาร (ใบ)
- ช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร (ต้น, รากแห้ง)
- ช่วยแก้อาการปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย (ใบ)
- ต้นยี่หร่ามีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง (ใบ, ต้น, รากแห้ง)
- ประโยชน์สมุนไพรยี่หร่าช่วยในการขับลมในลำไส้ (ใบ, ต้น, รากแห้ง)
- น้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่ามีฤทธิ์ช่วยระงับอาการหดเกร็งของไส้ (น้ำมันหอมระเหย)
- ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยการใช้ผลแห้งประมาณ 3-5 กรัมนำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้สักระยะแล้วจึงนำมาดื่มวันละ 3-4 ถ้วยตวง (ผล)
- ยี่หร่ายังมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนในสตรีได้ (ใบ)
ประโยชน์ของยี่หร่า
- ประโยชน์ของใบยี่หร่า ใบใช้เป็นเครื่องปรุงหรือเป็นส่วนประกอบในอาหารบางชนิด เช่น แกง ซุป ต้มยำ เป็นต้น และยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- อาหารไทยบางชนิดนิยมใช้ยี่หร่าในการช่วยปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ด้วยการคั่วเมล็ดมาโขลกผสมกับเครื่องแกง ทำเป็นแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ เป็นต้น
- เมล็ดช่วยในการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ด้วยการนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยนั้นมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จึงช่วยป้องกันอาหารไม่ให้เกิดการบูดเน่าเสียเร็วขึ้น และยังช่วยป้องกันกลิ่นเหม็นอับของเนื้อสัตว์เวลาหมักก่อนนำไปตากแห้งอีกด้วย
- น้ำมันยี่หร่า (Caraway oil) นอกจากจะใช้แต่งกลิ่นอาหาร ยังนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ได้อีกด้วย
คุณค่าทางโภชนาการของใบยี่หร่า ต่อ 100 กรัม
- เส้นใย 26.8 กรัม
- ไขมัน 0.6 กรัม
- โปรตีน 14.5 กรัม
- วิตามินบี 1 0.10 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.25 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 0.62 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 0 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์