คำอธิบาย
ดอกเก็ดถะหวา หรืออ่านออกเสียงกำเมืองเป็น เก็ด-ตะ-หวา หรือ เก็ตถะหวา เก็ตถวา เก็ดถวา ส่วนทางภาคอีสานเรียก อินถวา หรือ ดอกซ้อนฮ้อ
ดอกเก็ดถะหวา มีเสน่ห์ในความอ่อนโยนน่าหลงไหลในความหอมของดอก และความขาวพิสุทธ์ของดอกเก็ดถวาก็เปรียมเสมือนความบริสุทธิ์และแสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงเกิดเป็นวิถี เป็นดอกไม้มงคลตามความเชื่อของชาวล้านนา สำหรับนำไปถวายพระ และถือเป็นไม้มงคล สําหรับคนเกิดวันจันทร์ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ เชื่อกันว่า มีคุณทางด้านโภคทรัพย์ ผู้ใดปลูกไว้ในบ้านจะสมบูรณ์พูนผล
การปลูกต้นเก็ดถะหวา นิยมปลูกทิศพายัพหรือทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมักให้ผู้ชายที่เกิดในวันจันทร์ปลูกในวันเสาร์ เพื่อให้เกิดผลทางความเป็นมงคล ตามความเขื่อ
นอกจากนี้ ชาวล้านนามีความเชื่อเรื่องของ “พญาดอก” โดยเชื่อว่าในแต่ละปีจะมีดอกไม้ที่เป็นพญา คือ เป็นใหญ่แก่ดอกไม้ทั้งปวง เมื่อถึงวันสงกรานต์หลังจากประกอบพิธีกรรมอาบน้ำดําหัวชําระกายตามขนบธรรมเนียม แล้วจะนําเอาดอกไม้ที่เป็นพญาดอกนี้ทัดหูหรือเสียบแซมที่มวยผม ด้วยเชื่อกันว่าจะทําให้มีอายุมั่นยืนยาว
ดอกเก็ดถะหวา ถือเป็นหนึ่งในจํานวน “พญาดอก” ดังกล่าว โดยตําราได้ระบุดอกไม้พญาดอกที่คํานวณได้จากการนําเอาตัวเลขศักราชตั้งหารด้วย 8 ได้เศษเท่าไร ทายตามเศษดังนี้
เศษ 1 ดอกอูน ดอกเอื้อง
เศษ 2 ดอกแก้ว
เศษ 3 ดอกซ้อน (เก็ดถะหวา)
เศษ 4 ดอกดู่ (ประดู่)
เศษ 5 ดอกบัว ดอกเพลา (อ่าน-เปา = รัง)
เศษ 6 ดอกส้มสุก
เศษ 7 ดอกลิลา
ด้านสรรพคุณทางยามักใช้รากเป็นยาแก้ไข้ เปลือกและลําต้นแก้บิด ใบใช้พอกแก้วปวดศีรษะ และผลใช้กินขับพยาธิและขับปัสสาวะ เป็นต้น
เนื่องจากดอกเก็ดถะหวามีสีขาวจึงถือเป็น ดอกไม้แทนความสะอาดบริสุทธิ์ของจิตใจ และมีกลิ่นหอมแทนความหอมของศีลธรรม ชาวล้านนาจึงนิยมถวายดอกไม้ชนิดนี้เป็นพุทธบูชากันโดยทั่วไป
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์