คำอธิบาย
เตย (Pandom wangi) หรือบางครั้งเรียก เตยหอม เป็นพืชที่นิยมใบมาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารมาก เนื่องจากใบมีกลิ่นหอมอ่อนคล้ายข้าวใหม่ ซึ่งช่วยปรับแต่งกลิ่นของอาหารให้น่ารับประทานขึ้น รวมถึงน้ำมันหอมระเหยจากใบยังใช้ประโยชน์ในทางยา และความสวยความงามได้ด้วย
เตยหอม ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus amaryllifolius come เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีอ่อน ค่อนข้างนิ่ม เป็นมันเผือก ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันขอมลูกเขย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอฟอฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้
ชนิด และการแพร่กระจายของเตย
- เตยมีหนาม หรือมักเข้าใจว่า เป็นเตยต้นตัวผู้ หรือที่เรียกว่า ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ต้นออกดอก และดอกมีกลิ่นหอม ไม่นิยมนำใบมาทำอาหาร แต่นิยมใช้ดอกมาประกอบอาหาร รวมถึงนำใบใช้ในการจักสาน
- เตยไม่มีหนาม หรือมักเข้าใจว่า เป็นเตยต้นตัวเมีย หรือที่เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม มีลำต้นเล็กกว่าเตยหนาม ไม่มีดอก นิยมนำมาคั้นเอาน้ำสำหรับใช้ประกอบอาหารหรือทำขนมหวานเตย หรือ เตยหอม เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศอินเดีย รวมถึงทวีปอื่น เช่น แอฟริกา และออสเตรเลีย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำหรือบริเวณชื้นแฉะที่มีน้ำขังเล็กน้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเตย
ลำต้นเตยหรือเตยหอม เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นทรงกลม และเป็นข้อสั้นๆถี่กัน โผล่ขึ้นมาจากดินเพียงเล็กน้อย โคนลำต้นแตกรากแขนงออกเป็นรากค้ำจุนหรือเรียกว่า รากอากาศ ลำต้นสามารถแตกหน่อเป็นต้นใหม่ได้ ทำให้มองเป็นกอหรือเป็นพุ่มใหญ่ๆ ที่รวมความสูงของใบแล้วสามารถสูงได้มากกว่า 1 เมตร
ใบเตย แตกออกเป็นใบเดี่ยวด้านข้างรอบลำต้น และเรียงสลับวนเป็นเกลียวขึ้นตามความสูงของลำต้น ใบมีลักษณะเรียวยาวเป็นรูปดาบ ปลายใบแหลม สีเขียวสด ใบชูเฉียงแนบไปกับลำต้น แผ่นใบเป็นมัน กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านล่างมีสีจางกว่าด้านบน มีเส้นกลางใบลึกเป็นแอ่งตื้นๆตรงกลาง ใบนี้ส่งกลิ่นหอมตลอดเวลา เพราะมีน้ำมันหอมระเหย และสาร ACPY
ดอกเตยหรือเตยหอม เป็นพืชไม่ออกดอก
ประโยชน์ของเตยหอม
- ใบเตยนำมาบด และคั้นแยกน้ำ ก่อนนำไปผสมทำขนมหรือของหวานต่างๆ เช่น ขนมเปียกปูน ขนมชั้น เป็นต้น เนื่องจากให้สีเขียวสด และให้กลิ่นหอมเป็นธรรมชาติ
- นำใบเตยมา 5-10 ใบ บดคั้นผสมน้ำ และกรองแยกน้ำออก ก่อนนำมาต้มอุ่น พร้อมกับเติมน้ำตาลลงเล็กน้อยตามความหวานที่ต้องการ เรียกว่า น้ำใบเตย
- ใบเตยนำมาห่อทำขนมหวาน เช่น ขนมตะโก้
- ใบนำมามัดรวมกัน ใช้สำหรับวางในห้องน้ำ ห้องรับแขกเพื่อให้อากาศมีกลิ่นหอม ช่วยในการดับกลิ่น
- ใบเตยสดนำมายัดหมอน ช่วยให้มีกลิ่นหอม
- ใบนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Fragrant Screw Pine ให้กลิ่นหอมอ่อนๆ มีประโยชน์ในด้านอาหาร เครื่องสำอาง และยา
- สารสกัดจากใบเตยนำมาใช้เป็นสารแต่งกลิ่นบุหรี่
- ใบเตยสดนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตากแดดให้แห้ง ก่อนใช้ชงเป็นชาดื่ม
- น้ำมันหอมระเหยจากเตยนำไปเป็นส่วนผสมของน้ำยาปรับอากาศ
- สารสกัดจากใบเตยนำไปเคลือบข้าวสารที่ไม่มีกลิ่นหอม หลังจากนำมาหุงแล้วจะช่วยให้มีกลิ่นหอม
- สารสกัดจากใบเตยใช้เป็นสารป้องกันการหืนของอาหาร น้ำมันปาล์ม และผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์
- สารสกัดจากใบเตยใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ครีมทาผิว
- น้ำคั้นใบเตยนำมาผสมทำแซมพู สบู่ หรือ ครีมนวด
- น้ำมันหอมระเหยใบเตยใช้เป็นส่วนผสมทางยา
- ใบเตยสดนำมามัดเป็นกำ ใช้ขัดถูพื้น ช่วยให้พื้นเงางาม และมีกลิ่นหอม
- ใบเตยสด นำมามัดรวมกับดอกไม้อื่นๆ ใช้สำหรับถวายหรือบูชาพระ
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์