คำอธิบาย
จำหน่ายเมล็ดข้าวสาลีคุณภาพ สดใหม่ เสมอ สภาพตอนงอดดีเยียม สำหรับลูกค้าที่ต้องการนำไปปลูกเป็นต้นอ่อนข้าวสาลี ไปให้สัตว์เลี้ยง หมา แมว กระต่าย หรือ ปลูกเพือทำน้ำคั้น Wheat Grass เพื่อสุขภาพ รักษาสิว และอีกสารพัดประโยชน์จากยอดอ่อนข้าวสาลี
ข้าวสาลี (Triticum spp.) เป็นพืชจำพวกธัญพืช ปลูกมากในแถบประเทศตะวันออกกลาง เหนือเส้นศูนย์สูตร หรือในเขตอบอุ่น หรือเขตหนาวบางเขต เมล็ดข้าวสาลีจะมีแป้งเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 70% และมีแร่ธาตุอื่น ๆ อีกเป็นองค์ประกอบ 30% ต้นข้าวสาลีประกอบไปด้วยธาตุอาหารมากกว่า 100 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแร่ธาตุหลัก ๆ ที่ร่างกายต้องการทุกตัว แร่ธาตุรองที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย วิตามินในกลุ่มบีคอมเพล็กซ์ครบถ้วน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเรื่องของแหล่งโปร – วิตามินเอ ที่สูงที่สุดในบรรดาอาหารต่าง ๆ รวมทั้งมีวิตามินซี อี และเค เป็นจำนวนมาก น้ำต้นข้าวสาลีมีโปรตีนอยู่ 25 % ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากกว่าเมื่อเทียบกับเนื้อปลา ไข่ ผลิตภัณฑ์นม หรือถั่วต่าง ๆ มากไปกว่านี้ยังมีสารต้าน เชื้อรา สารต้านพิษจากเชื้อราที่เรียกว่า laetrile อีกด้วย
ข้าวสาลี เป็นธัญพืชอย่างดีที่มีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคกระเพาะ สำหรับผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น ในทางยาใช้เมล็ดแก่ในขนาด 15-30 g. ต้มกินน้ำเป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยให้นอนหลับ และลดความดันโลหิตสูง
แหล่งผลิตข้าวสาลีรายใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
โภชนาการของข้าวสาลี
แม้ว่าข้าวสาลีจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ข้าวสาลีก็มีโปรตีนกลูเต็นที่ผู้ป่วยโรคผิดปกติเกี่ยวกับช่องท้อง (Coeliac disease) ไม่สามารถรับโปรตีนชนิดนี้ได้เช่นกัน ซึ่งโปรตีนชนิดนี้สามารถพบได้ใน ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ตและข้าวทริทิเคลี
ข้าวสาลีอ่อน ข้าวสาลีสำหรับสัตวเลี้ยง
- เพิ่มวิตามิน และเกลือแร่ เนื่องจากอาหารสัตว์จะมีแต่โปรตีนเป็นจำนวนมาก
- ช่วยทำความสะอาดระบบภายในร่างกาย
- ช่วยขับเมือกหรือน้ำดี และสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย
- ทำความสะอาดลำไส้ และ “กำจัดพยาธิ”
- ต้นข้าวมีคลอโรฟิลล์ ที่ช่วยลดความเจ็บปวด ลดการอับเสบบาดแผลในกระเพาะ
- ช่วยกำจัดก้อนขน (hair ball)
ลักษณะของข้าวสาลี
ต้นข้าวสาลี มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์อยู่ในตะวันออกกลาง ผู้ผลิตข้าวสาลีที่สำคัญของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน และรัสเซีย ในประเทศไทยมีการปลูกบ้างบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือ แต่ส่วนใหญ่จะได้มาจากการนำเข้าเสียมากกว่า จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุราว 1 ปี มีความสูงของต้นประมาณ 40-150 เซนติเมตร แตกขึ้นเป็นกอแน่น ลำต้นเรียบ มีข้อและปล้องประมาณ 4-7 ปล้อง มีขนาดใหญ่ขึ้นจากโคนไปสู่ปลาย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการหว่านเมล็ด
ใบข้าวสาลี ใบเป็นใบเดี่ยว ใบติดแบบเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปแถบผอมยาว มีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-40 เซนติเมตร ใบเกลี้ยงหรือมีขน เขี้ยวใบเป็นแผ่น หูใบบาง
ดอกข้าวสาลี ออกดอกเป็นช่อ ชนิดดอกช่อเชิงลด เรียงเป็นสองแถว แกนกลางช่อหยักไปมา ยาวได้ประมาณ 5-15 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยแบบ ซ้อนทับกันเป็นแถวด้านข้างของแกนช่อดอก ช่อดอกย่อยประกอบไปด้วยดอกย่อยประมาณ 3-9 ดอก ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ดอกจะมีรูปร่าง ขนาด และความหนาแน่นแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ ตรงปลายกาบช่อย่อยเป็นสัน 1 สัน เกิดจากเส้นใบยื่นเป็นปีกแหลม ส่วนกาบล่างมีรยางค์แข็งยาวได้ถึง 16 เซนติเมตร
ผลข้าวสาลี ลักษณะของผลเป็นรูปไข่หรือรูปกระสวย มีร่องตามยาว สีน้ำตาลแดง เหลือง ขาว หรือมีสีปนกัน[ โดยส่วนที่นำมารับประทานจะมีอยู่ 3 ส่วน ได้แก่
- เมล็ดข้าวสาลี (wheat kernel) จะประกอบไปด้วย เอนโดสเปิร์ม (endosperm), คาร์โบไฮเดรตที่เป็นสตาร์ช (starch) ซึ่งมี amylose และ amylopectin เป็นส่วนประกอบหลักอยู่รวมเป็นเม็ดสตาร์ช (starch granule)
- รำข้าวสาลี (wheat bran) ซึ่งเป็นเปลือกห่อหุ้มเมล็ดไว้หลายชั้น เป็นชั้นของรำ (bran) ส่วนชั้นนอกสุดเป็นแกลบ (husk)
- จมูกข้าวสาลี (wheat germ) ซึ่งเป็นแหล่งสะสมอาหารสำหรับต้นอ่อน
ต้นอ่อนข้าวสาลี (Wheatgrass) คือ ส่วนของเมล็ดที่นำมาเพาะประมาณ 7-8 วันจนเป็นต้นอ่อน (เช่นเดียวกับถั่วงอก) แล้วนำมาคั้นเป็นน้ำวีทกราสหรือน้ำต้นอ่อนข้าวสาลี โดยจะมีขายทั้งในรูปแบบคั้นสด ๆ แบบผงชงสำเร็จรูป และแบบที่นำมาแปรรูปเป็นสารสกัดบรรจุแคปซูลหรือแบบอัดเม็ด
สรรพคุณและประโยชน์ของข้าวสาลี
- ใช้เป็นอาหารของมนุษย์ โดยมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีกากอาหาร จึงช่วยในการขับถ่ายของลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี หรือจะนำเมล็ดมาเพาะให้งอก ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับถั่วงอก หรือนำเมล็ดมาทำข้าวนึ่ง แล้วนำไปทำเป็นอาหาร
- ข้าวสาลีเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้เป็นโรคกระเพาะ กระเพาะอาหารอักเสบ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงระหว่างการพักฟื้น
- ในปัจจุบันได้มีการนำข้าวสาลีมาแปรรูปทำเป็นน้ำคั้นต้นข้าวสาลีอ่อนและมอลต์ข้าวสาลี (การทำให้ข้าวสาลีงอกเป็นต้นอ่อนแล้วนำมาคั้นเอาน้ำ) ในต่างประเทศมีการใช้นำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลีกันมานานแล้วสำหรับการทำความสะอาดระบบเลือด ช่วยทำให้ระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้น ช่วยในการย่อยอาหาร ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจน เนื่องจากในน้ำของต้นอ่อนข้าวสาลีจะมีคลอโรฟิลล์อยู่สูงถึง 70% ซึ่งคลอโรฟิลล์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ มีองค์ประกอบคล้ายกับเม็ดเลือดแดง จึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด ช่วยทำความสะอาดระบบหมุนเวียนโลหิต ช่วยลดการดูดซึมของสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีสารซาโปนินที่มีฤทธิ์กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์ไม่ต่ำกว่า 90 ชนิด ที่ช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้แก่ร่างกายและมีความสามารถในการจับกรดที่เป็นพิษต่อร่างกาย มีกรดอะมิโนไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และมีเอนไซม์ไม่ต่ำกว่า 30 ชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในด้านการช่วยชะลอความแก่ เป็นต้น
- น้ำคั้นจากต้นอ่อนข้าวสาลี (Wheatgrass juice) สามารถช่วยเพิ่มปริมาณของเม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง ช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ และยังช่วยรักษาอาการลำไส้อักเสบ โดยไม่พบความเป็นพิษหรือผลข้างเคียงใด ๆ ในขนาดรับประทานวันละ 30-100 มิลลิลิตร หรือในแคปซูลขนาด 1,000 มิลลิกรัม ในระช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 2 สัปดาห์จนถึง 1 ปี แต่อย่างไรก็ตามควรจะระมัดระวังในการใช้กับเด็กอ่อนหรือสตรีมีครรภ์ เพราะยังไม่มีรายงานด้านความปลอดภัย อีกทั้งน้ำคั้นของต้นอ่อนก็มีกลิ่นเหม็นเขียวคล้ายกับหญ้า จึงอาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นดังกล่าวได้
- จมูกข้าวสาลี (wheat germ) คือ ส่วนที่อยู่ตรงปลายเมล็ดข้าว เป็นแหล่งของสารอาหารสำคัญ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอกลาโฮมา (Oklahoma State University) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อมูลว่าจมูกข้าวสาลีมีโปรตีนสูงกว่าแป้งสาลีถึง 3 เท่า มีเกลือแร่สูงกว่า 6 เท่า และยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ อีกทั้งยังมีกรดโฟลิกและวิตามินสูง จนวารสาร Food Research International ได้ยกให้จมูกข้าวสาลีเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันโรคโลหิตจางในแม่และความพิการทางระบบประสาทของเด็กทารก โดยพบว่าจมูกข้าวสาลี 3 ช้อนโต๊ะ จะให้ปริมาณของกรดโฟลิกสูงถึง 20% ของความต้องการใน 1 วัน นอกจากนี้จมูกข้าวสาลียังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองแตก โรคต้อกระจก ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยลดความอ้วน และช่วยในการชะลอวัยได้อีกด้วย
- รำข้าวสาลี (wheat bran) เป็นส่วนที่มีเส้นใยอาหารสูง เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระ อีกทั้งเส้นใยอาหารยังมีคุณสมบัติในการช่วยดูดน้ำได้ดีมาก จึงช่วยทำให้อุจจาระนุ่ม ขับถ่ายได้ง่าย ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้ในการผลิตอาหารเสริมสุขภาพและผสมในอาหารเลี้ยงสัตว์จำพวกหมูและกุ้งอีกด้วย
- ฟางที่เหลือใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์กินหญ้า เช่น วัว ควาย หรือนำมาใช้ทำตุ๊กตาฟาง มุงหลังคา ทำไส้เบาะ เชื้อเพลิง วัสดุรองสิ่งของในการบรรจุหีบห่อ กระดานอัด ตลอดจนการนำไปใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ด เป็นต้น
- ข้าวสาลีเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของประชากรโลก โดยผลิตผลและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแป้งข้าวสาลี ได้แก่ แป้งสาลี ขนมปัง ขนมเค้ก ขนมอบ ซาลาเปา คุ้กกี้ แครกเกอร์ เค้ก โดนัท โรตี พาย ปาท่องโก๋ บะหมี่ พาสต้า สปาเกตตี มักกะโรนี ฯลฯ และยังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตกาว แอลกอฮอล์ น้ำมัน และกลูเตนอีกด้วย ส่วนเมล็ดที่นำมาบดให้แตกด้วยโม่หินสามารถนำมาใช้ทำโจ๊ก ทำข้าวต้ม ถ้านำมาลวกน้ำเดือดประมาณ 20 นาที ก็นำมาทำยำสลัดและข้าวผัดได้ ส่วนข้าวสาลีต้มสุกทั้งเมล็ด สามารถนำมาใช้ทำขนมประเภทข้าวโพดคลุกและข้าวเหนียวเปียก หรือจะนำข้าวสาลีมานวดเป็นก้อน แล้วเอาไปล้างน้ำ ก็จะได้ “มี่กึง” (gluten) เมื่อเอาไปต้มสุกก็จะได้เนื้อเทียมซึ่งเป็นโปรตีนจากพืช ที่นำมาใช้ทำอาหารเจ เช่น แกงลูกชิ้น พะโล้ เป็นต้น
- ส่วนประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ก็เช่น การนำมาใช้ทำแบะแซ (น้ำเชื่อมข้น) โดยการเพาะเมล็ดข้าวสาลีในกระบะไม้นาน 7 วัน แล้วเอาต้นกล้าอ่อนไปโขลกคั้นกรองเอาส่วนที่เป็นของเหลว แล้วนำไปเคี่ยวกับปลายข้าวเหนียว หมักไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วค่อยคั้นเอาน้ำเชื่อมข้นออกมา, ใช้เมล็ดสุกหมักกับส่าเพื่อกลั่นเป็นเหล้า, ใช้ทำซีอิ๊วและเต้าเจี้ยว ด้วยการใช้เมล็ดข้าวสาลีและเมล็ดถั่วเหลือง คั่วแล้วบดในอัตราส่วนเท่ากัน และหมักด้วยเชื้อ Aspergillus sojae, ใช้สำหรับทำเชื้อเห็ดบางประเภท โดยการผสมเมล็ดข้าวสาลีที่นึ่งสุกกับรำละเอียด เอาไปบรรจุในขวดแบน แล้วเขี่ยเชื้อจากอาหารวุ้นใส่
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์