คำอธิบาย
เฮลิโคเนีย หรือ ธรรมรักษา
ชื่อสามัญ Heliconia
ชื่อวิทยาศาสตร์ Heliconia spp.
วงค์ HELICONIACEAE, MUSACEAE
ชื่ออื่น เป็นสกุลพันธุ์ไม้ที่มีหลายสายพันธุ์มีชื่อภาษาไทยต่าง ๆ กัน เช่น ธรรมรักษา ก้ามกุ้ง ก้ามกั้ง สร้อยกัทลี
ลักษณะทั่วไปของ ต้นเฮลิโคเนีย หรือ ธรรมรักษา
เฮลิโคเนีย หรือ ธรรมรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก อวบน้ำ มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ลักษณะคล้ายกับกล้วย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 – 2 เมตร การเจริญเติบโตจะแตกหน่อออกมาเป็นกอ ใบเรียงตัวสลับกัน ลักษณะของใบคล้ายใบกล้วยหรือพุทธรักษา มีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดของใบเฮลิโคเนียขึ้นกับชนิดของพันธุ์ ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษาณะช่อดอกตั้งและห้อยลง แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ในแต่ละช่อดอกมี 4 – 8 ดอก ดอกเฮลิโคเนียมีสีส้ม สีแดง เหลือง และชมพู ผลคือส่วนของดอกเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นเมล็ด เป็นไม้เขตร้อน ที่นิยมใช้เป็นไม้ตัดดอก ไม้กระถาง และตกแต่งสถานที่ ทั้งในและต่างประเทศมีมากมายหลายพันธุ์ เป็นไม้อวบน้ำยืนต้น มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า “เหง้า” ส่วนของลำต้นเหนือดินเรียกว่า “ต้นเทียม” (pseudostem) ประกอบด้วยส่วนของลำต้น (stem) และใบเมื่อเจริญเต็มที่ มักมีช่อดอก(infloescemce) แทงออกที่ส่วนกลางของต้นเทียม ลำต้นประกอบด้วยกาบใบ (leaf sheath) วางซ้อนสลับไปมา
การเป็นมงคลของ ต้นเฮลิโคเนีย หรือ ธรรมรักษา
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นธรรมรักษาไว้ปรจำบ้าน จะช่วยคุ้มครองและรักษา ให้เกิดความสงบสุขแก่บ้านและผู้อาศัย เพราะธรรมรักษาเป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้ยังได้นำดอกของธรรมรักษา มาประกอบในพิธีบูชาพระได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เพราะ ธรรมรักษา หรือ ธรรมะ คือการักษาในสิ่งที่ดีงาม มีคุณธรรมซึ่งควรเคารพและบูชา ดังนั้นจึงเชื่อว่า การรักษาธรรมะ หรือ ธรรมรักษา คือ การช่วยคุ้มครองรักษานั่นเอง
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก ต้นเฮลิโคเนีย หรือ ธรรมรักษา
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นธรรมรักษาไว้ทางทิศใต้หรือทางทิศตะวันออกก็ได้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทางดอกให้ปลูกในวันพุธ
การดูแลรักษา ต้นเฮลิโคเนีย หรือ ธรรมรักษา
- แสง เฮลิโคเนียต้องการแสงแดดร่ม รำไร จนถึงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
- น้ำ เฮลิโคเนียต้องการปริมาณน้ำปานกลางจนถึงมาก ควรให้น้ำ 3 – 5 วัน /ครั้ง
- -ดิน เฮลิโคเนียชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย
- ปุ๋ย ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/กอ ใส่ปีละ 4-6ครั้ง
ใบและดอกของต้นเฮลิโคเนีย หรือ ธรรมรักษา
ใบ : การเรียงตัวของใบ จะเรียงสลับตรงกันข้ามในระนาบเดียวกัน มีทั้งใบที่คล้ายกล้วย คือมีก้านใบยาว และอยู่ในแนวตั้ง, ใบที่คล้ายขิง คือ มีก้านใบสั้น และใบอยู่ในแนวนอน และใบที่คล้ายพุทธรักษา คือมีก้านใบสั้นหรือยาวไม่มากนัก และใบทุกมุมป้านกับลำต้น
ดอก : ดอกเฮลิโคเนียจะออกเป็นช่อ สะดุดตา และมีสีสันสวยงาม ช่อดอกมักแทงออกกลางลำต้นเทียม และเป็นส่วนสุดท้ายของการเจริญเติบโต ช่อดอกอาจตั้ง (upright) หรือห้อย (pendent) แล้วแต่ชนิด ส่วนของช่อดอกจะประกอบด้วย
- ก้านช่อดอก (peduncle) เป็นส่วนต่อระหว่างโคนใบสุดท้ายกับโคนกลีบประดับกลีบแรก
- กลีบประดับ (inflorescence bract , cincinal bract) เป็นส่วนที่พัฒนามาจากใบ
- ก้านต่อระหว่างกลีบประดับ (rachis) ส่วนนี้อาจมีสี และผิวแตกต่างจากกลีบประดับ และอาจตรงหรือคดไปมาได้ (zigzag) แล้วแต่ชนิด
การนำ ต้นเฮลิโคเนีย หรือ ธรรมรักษา ไปใช้
เฮลิโคเนีย ใช้ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม และเป็นศิริมงคล เพราะชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธรรมรักษา” นั้น มีความหมายไปในทางที่ดี นั่นคือ ธรรมรักษาหรือธรรมะนั้น คือการรักษาในสิ่งที่ดีงาม หรือ ผู้ที่มีคุณธรรมซึ่งควรแก่การเคารพบูชา ดังนั้นจึงหมายถึง การช่วยคุ้มครองรักษาให้แคล้วคลาด จากภัยอันตรายทั้งปวง และคนในบ้านก็จะมีคุณธรรมอันดีงามเสมอไป ดอกของต้นไม้ชนิดนี้ ชาวไทยนิยมนำมาใช้บูชาพระ เพราะเชื่อว่า เป็นดอกไม้ที่เหมาะสำหรับบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ชาวพุทธทั้งหลายนิยมบูชา คนโบราณเชื่อกันว่า หากครอบครัวใด ที่ปลูกต้นธรรมรักษาเอาไว้ในบริเวณบ้าน สมาชิกทุกคนภายในบ้าน ก็จะได้รับการปกป้องคุ้มครองแคล้วคลาดจากอันตราย คนในครอบครัวจึงมีแต่ความสงบสุข
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์