ใบบัวบก

ใบบัวบก

25฿

ใบบัวบกเป็นพืชที่เหมาะสำหรับเตรียมเป็นเครื่องดื่มและอาหารหรือเป็นผัก ช่วงอากาศร้อน ช่วงเที่ยง ถึงบ่ายสอง อันเป็นช่วงเวลาที่ธาตุไฟในจักรวาลแรงกล้า เหมาะสำหรับวัยรุ่นมากที่สุด เพราะเป็นอายุที่มีธาตุไฟประจำกาย เนื่องจากใบบัวบกมีรสขม ใช้ลดความร้อนในร่างกาย

ตามตำราแผนโบราณ คำว่าบัวบกมีสองชนิด คือบัวบก หัว (Stephania erecta, Craib, Menisapermaceae) และบัวบกใบ หรือที่เรียกว่าผักหนอก (Centella asiaica, Umbelliferae) คือบัวบกที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นพืชที่ขึ้นง่ายตามที่ชื้นแฉะ เป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน ใบกลมประมาณ นิ้วครึ่ง ริมใบจัก ยาไทยกล่าวว่า ใบบัวบกเป็นยาบำรุง รักษาโรคผิวหนัง โรคประสาท ขับปัสสาวะ ต้นและใบเป็นยาบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลียเมื่อยล้า แก้ท้องเสีย อาการเริ่มเป็นบิด คนจีนใช้ตำละลายน้ำผสมน้ำตาล เป็นยาแก้ร้อนใน แก้ช้ำใน แก้อ่อนเพลียได้ดี สรรพคุณในตำราจีนกล่าวว่า ใบมีรสขมเล็กน้อย เผ็ดเล็กน้อย เย็นจัด หรือหนาว ในทางจีนใช้ขับความร้อน ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้บวม ใช้ในอาการไข้หวัดใหญ่ ใช้ในอาหารเป็นพิษ ใช้ขนาด15-30 กรัม (แห้ง) บำรุงตับ ใช้ขนาด 250 กรัม ต้มในน้ำตาล นอกจากนี้ยังใช้ถอนพิษ

ในทางการแพทย์ล้านนา พบตำรับยาที่เข้าผักหนอก ได้แก่ ยาแก้ปิ (ลมแดด หรือเวลาหิวข้าว) ยามะเร็งครุตขึ้นหัว (ปวดหัวข้างเดียวมาก) ยาลมเกี่ยว (ตะคริว) และยาผีเครือสันนิบาต โดยมีตัวยาอื่นเป็นส่วนร่วม นอกจากนี้ชาวล้านนายังใช้ ใบสดรับประทานเป็นผักแกล้มน้ำพริกปลา

ในด้านพฤกษเคมี พบว่าใบและรากบัวบกมีสารสำคัญคือไทรเทอร์ปีนส์ พบกรดเอเชียติก เอเชียติโคไซด์ มาเดคอสซอล มาเดคาสสิก และอื่นๆ นอกจากนี้ประกอบด้วย น้ำมันหอมระเหยเล็กน้อย และฟลาโวนอยด์ น้ำที่คั้นได้ พบเอเชียติโคไซด์มากที่สุด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนให้กับผิว นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งอาการคัน ช่วยยับยั้งเชื้อกลาก สารสกัดด้วยน้ำยังสามารถช่วยลดการติดเชื้อที่เกิดหนอง ทำให้เหมาะสมในการใช้เป็นผลิตภัณฑ์ภายนอกลดการอักเสบของแผลในช่องปาก และอื่นๆ

รายงานการวิจัยว่า สารสกัดรวมในกลุ่มไทรเทอพีนอยด์ (total triterpenoid fraction) ของใบบัวบก มีผลในการรักษาอาการเส้นเลือดขอดได้ (1) การใช้บัวบกเพื่อลดความดันโลหิต มีใช้ในรูปแบบของยาตำรับ พบว่ามีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้ แต่ไม่ควรใช้บัวบกในขนาดสูงเป็นเวลานาน

มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์ของคนที่รับประทานสารสกัดจากบัวบกในรูปแบบยาเม็ดเพื่อลดน้ำหนัก พบว่าเกิดภาวะตับอักเสบ ซึ่งเมื่อหยุดใช้อาการก็จะดีขึ้น ดังนั้นควรจะระมัดระวัง ในการรับประทานบัวบกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน และ การใช้ร่วมกับยาลดความดันบางชนิด เช่นอีนาลาปริล และ เอมโลไดพริน อาจทำให้ระดับยาในเลือดสูง เนื่องจากบัวบก ยับยั้งเอนไซม์ที่ใช้ในการกำจัดยาดังกล่าวออกจากร่างกาย บัวบก ช่วยให้แผลเป็นจางลงได้ ซึ่งควรทาในช่วงที่เป็นแผลใหม่ และแผลไม่ใหญ่จนเกินไป มิฉะนั้นอาจไม่ได้ผล (1)

ดังนั้น จะเห็นว่าใบบัวบก หรือผักหนอกมีประโยชน์ทั้งเป็นอาหาร เป็นยาเย็น แก้อ่อนเพลีย ยังใช้เป็นยาภายนอกอีกด้วย เป็นสมุนไพรธรรมดา แต่ก็มีคุณค่ามากหลายสมควรปลูกไว้ใกล้ตัว

H0029. In stock . .

วิธีการสั่งซื้อจากร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์

ท่านสามารถติดต่อและสั่งซื้อพรรณไม้จากร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางดังนี้:

  • เฟซบุ๊กแฟนเพจ: Chiangmaigardens
  • โทรศัพท์: 0850356187
  • ไลน์ไอดี: @0850356187

หมายเหตุเกี่ยวกับการสั่งซื้อ:

  • ราคาสินค้าจะแตกต่างกันตามขนาดและประเภทของต้นไม้ ภาพที่แสดงเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น สินค้ามีการเข้าออกตลอดเวลา กรุณาสอบถามสถานะและรายละเอียดสินค้าก่อนสั่งซื้อเพื่อความมั่นใจ
  • แม่ค้าจะคำนวณค่าจัดส่งตามขนาด ปริมาตร และจำนวนที่สั่งซื้อ ทั้งนี้ เพื่อให้คุณได้รับราคาที่เหมาะสมที่สุด
  • ในการจัดส่ง ต้นไม้อาจจะถูกบรรจุในถุงดำเนื่องจากข้อจำกัดในการจัดส่ง บางครั้งต้นไม้ไม่สามารถใส่กล่องได้ เพื่อเป็นการลดภาระและความยุ่งยากในการจัดส่ง

ขอบคุณที่เลือกซื้อสินค้ากับร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ค่ะ เราพร้อมยินดีให้บริการค่ะ

คำอธิบาย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Centella asiatica Urban

บัวบก ชื่อสามัญ : Gotu kola
วงศ์ : Umbelliferae
ชื่ออื่น : สมุนไพรบัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคใต้), กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้

ส่วนที่ใช้ : ใบ ทั้งต้นสด เมล็ด

เมื่อพูดถึงบัวบก สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นมาทีไร หลาย ๆ คนคงนึกไปว่ามันแค่ช่วยแก้อาการช้ำในเฉย ๆ (ส่วนอาการอกหักนี้ไม่เกี่ยวกันนะ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว บัวบกหรือใบบัวบกนั้นมีสรรพคุณมากมาย เพราะได้รับการกล่าวขานเกี่ยวการรักษาโรคได้หลายชนิด อย่างโรคลมชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด แผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง

ใบบัวบก มีสารประกอบสำคัญหลายชนิด อย่างเช่น บราโมซัยด์ บรามิโนซัยด์ ไตรเตอพีนอยด์ มาดิแคสโซซัยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และยังมีกรดมาดิแคสซิค วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 วิตามินเอ วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโซเดียม และกรดอะมิโน อย่างเช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

ใบบัวบกเหมาะสำหรับคนที่ขี้ร้อน มีภาวะแกร่ง หรือมีความร้อนชื้น เพราะเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

วิธีการปลูกใบบัวบก

การปลูกใบบัวบกสามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่นำไหลมาตัดแต่งรากแล้วนำไปปักชำในที่ร่ม ให้รดน้ำประมาณ 3-4 วัน แล้วค่อยย้ายลงพื้นที่ปลูก โดยลักษณะดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทรายถึงแม้จะเป็นพืชที่ชอบพื้นที่แฉะแต่ก็ควรให้น้ำ และอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอเพื่อช่วยในการเจริญเติบโต รวมถึงการใส่ปุ๋ยเพื่อให้ได้ลำต้นอวบน้ำที่ดูน่ารับประทาน และสามารถนำไปจำหน่ายในท้องตลาดได้อีกด้วย

ประโยชน์ของใบบัวบก

ใบบัวบกถือเป็นพืชสมุนไพรที่มีส่วนประกอบที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ และกรดต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยส่งเสริม และเกิดผลดีต่อร่างกายอยากมากมาย โดยใบบัวบกมีสรรพคุณทางการรักษา ดังต่อไปนี้

  1. บัวบกเป็นพืชที่มีแคลเซียมในระดับปานกลางถึงสูง แต่มีระดับสารออกซาเลตที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในปริมาณต่ำ
  2. ใบบัวบกช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย
  3. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  4. ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
  5. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย
  6. ประโยชน์ของใบบัวบก ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา เพราะบัวบกมีวิตามินเอสูง
  7. ช่วยรักษาอาการตาอักเสบบวมแดง ด้วยการใช้ใบบัวบกล้างน้ำสะอาด คั้นเอาแต่น้ำนำมาหยดที่ตา 3-4 ครั้งต่อวัน
  8. ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือนใบแปะก๊วย
  9. ช่วยทำให้ความจำดีขึ้นและทำให้มีปฏิภาณไหวพริบเพิ่มมากขึ้น
  10. ช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุ
  11. เชื่อว่าใบบัวบกมีส่วนช่วยเพิ่มไอคิว ความฉลาด และความสามารถในการเรียนรู้
  12. ใบบัวบกมีสรรพคุณช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง โรคอัลไซเมอร์หรืออาการหลงลืมระยะสั้นได้
  13. ช่วยเพิ่มสมาธิ แก้สมาธิสั้น
  14. ช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจเฉพาะหน้า
  15. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว
  16. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  17. ช่วยผ่อนคลายความเครียด
  18. ช่วยเสริมการทำงานของกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยรักษาสมดุลของจิตใจ จึงช่วยผ่อนคลายและทำให้หลับง่ายขึ้น
  19. ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
  20. ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  21. ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
  22. ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
  23. ช่วยบำรุงหัวใจ
  24. ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
  25. ช่วยทำให้จิตใจสดชื่น อารมณ์แจ่มใส
  26. ช่วยทำให้หน้าตาสดใสเหมือนเป็นวัยรุ่น
  27. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
  28. ช่วยบำรุงเสียง
  29. ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ด้วยการใช้บัวบกสดประมาณ 1 กำมือ นำมาตำคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง แล้วจิบกินบ่อย ๆ
  30. ช่วยแก้กระหายน้ำสรรพคุณใบบัวบก
  31. ใบบัวบกมีสรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนใน ตัวร้อน
  32. ใบบัวบกมีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านโรคมะเร็ง
  33. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
  34. ช่วยรักษาโรคดีซ่านจากภาวะร้อนชื้น ด้วยการใช้บัวบก 30 กรัม น้ำตาลทรายกรวด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
  35. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
  36. ช่วยรักษาอาหารหืด
  37. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้ต้นสด 1 กำมือต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม หรือจะใช้บัวบกสด ๆ ทั้งต้นประมาณ 30 กรัมนำมาค้นเอาน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อยแล้วดื่มกินประมาณ 5-7 วัน
  38. ช่วยรักษาโรคลมชัก
  39. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  40. ช่วยรักษาอาการเต้านมอักเสบเป็นหนองในระยะแรก ด้วยการใช้บัวบกและเปลือกของลูกหมาก 1 ผล นำมาต้มกับเหล้าดื่ม
  41. ช่วยแก้คนเป็นบ้า
  42. ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับเลือด
  43. ช่วยลดความดันเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้หลอดเลือด และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  44. ช่วยรักษาโรคที่มีสมุฏฐานจากเสมหะ
  45. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  46. ช่วยแก้ไข้
  47. ช่วยห้ามเลือดกำเดา เพราะทำให้เลือดเดิน แต่เลือดจะไม่ออกจากเส้นเลือดและยังทำให้เลือดเย็นอีกด้วย
  48. ช่วยแก้อาการช้ำใน บาดเจ็บจากการกระทบกระแทก
  49. เป็นพืชที่ย่อยได้ง่าย
  50. ช่วยทำให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
  51. ช่วยแก้อาการท้องเสีย
  52. สารสกัดจากใบบัวบกมีฤทธิ์ป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี
  53. ช่วยแก้อาการเริ่มที่จะเป็นบิด
  54. ช่วยรักษาโรคบิดหรือมีมูกเลือดปนเมื่อขับถ่าย
  55. ช่วยรักษากระเพาะอาหารเป็นแผล
  56. ใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
  57. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
  58. แก้อาการปัสสาวะติดขัด ด้วยการใช้ใบบัวบกประมาณ 50 กรัม นำมาตำแล้วพอกบริเวณสะดือ เมื่อถ่ายปัสสาวะคล่องดีแล้วค่อยเอาออก
  59. ช่วยขับความร้อนชื้นทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว
  60. ช่วยรักษาโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะด้วยการใช้บัวบก 50 กรัมต้มกับน้ำซาวข้าวครั้งที่ 2 แล้วนำมาดื่ม
  61. ช่วยรักษาอาการมีหนองออกจากปัสสาวะ
  62. ช่วยแก้อาการน้ำดีในร่างกายมากเกินไป
  63. ช่วยรักษาโรคม้ามโต
  64. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบ
  65. แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์
  66. ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด
  67. ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น ช่วยเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ
  68. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบบัวบกมาทุบให้แหลกแล้วนำมาโปะบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้ใบบัวบกประมาณ 40 กรัม ต้มกับเหล้าแดงประมาณ 250 cc. ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วนำมาดื่ม
  69. ใช้บัวบกตำนำมาพอกรักษาความร้อนบวมของโรคไฟลามทุ่ง หรือใช้รักษาอาการด้วยการใช้น้ำคั้นบัวบกนำมาผสมกับแป้งข้าวเหนียวทำเป็นแป้งเหลว พอกบริเวณที่เป็น
  70. ช่วยรักษาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  71. ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคเรื้อน โรคสะเก็ดเงิน หิด หัด เป็นต้น
  72. ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง
  73. ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้เป็นอย่างดีและใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดได้อีกด้วย
  74. ช่วยรักษาผิวหนังเป็นด่างขาว
  75. ใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ทั้งต้นสดของบัวบกประมาณ 3 ต้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้แหลกแล้วนำมาพอกแผลไฟไหม้
  76. บัวบกมีการนำมาผลิตเป็นแคปซูลวางจำหน่าย มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงสมองเป็นหลัก (Brain tonic)
  77. ปัจจุบันมีการนำไปทำเป็นยาเป็นแผนปัจจุบันในรูปแบบผงใช้โรยแผล และในรูปแบบเม็ดรับประทานเพื่อรักษาแผลผ่าตัด แผลสด ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือฝีหนองได้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นอีกด้วย
  78. ช่วยแก้อาการก้างปลาติดคอ ด้วยการนำบัวบกไปต้มน้ำ แล้วค่อย ๆ กลืนน้ำลงคอ
  79. ใบและเถาบัวบกใช้รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกกะปิคั่ว หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ลาบ ก้อย แกงเผ็ด ยำใบบัวบก ซุปหน่อไม้ เป็นต้น
  80. น้ำคั้นจากใบบัวบกนำมาทำเป็นน้ำมันบัวบกใช้ชโลมศีรษะ มีสรรพคุณช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย
  81. น้ำใบบัวบกเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับหน้าร้อนเป็นอย่างมาก เพราะมีฤทธิ์เป็นยาเย็นดับร้อนในร่างกายได้สารพัด
  82. สารสกัดจากใบบัวบก มีคุณสมบัติช่วยลดการระคายเคืองผิวและปลอดภัยต่อร่างกาย
  83. สารสกัดจากใบบัวบกมีการนำมาใช้เพื่อเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง
  84. มีการนำสารสกัดจากใบบัวบกมาใช้ทำเป็นวัสดุปิดแผล
  85. ลบรอยตีนกาตื้น ๆ ด้วยน้ำใบบัวบก ด้วยการนำบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นจนละเอียด แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้สำลีชุบน้ำทาทั่วบริเวณหางตาหรือทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก โดยควรทาทุกวันก่อนนอน
  86. มีการนำสารสกัดจากใบบัวบกมาผลิตเป็นสบู่ใบบัวบก ซึ่งผู้ผลิตอ้างว่าช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงได้

โทษของใบบัวบก และข้อควรระวัง

แม้จะมีข้อดีมากมายแต่ก็ยังมีข้อควรระวังต่าง ๆ ให้คุณได้ศึกษา และทำความเข้าใจก่อนนำไปรับประทานซึ่งได้แก่

  • ต้องมีการตรวจสอบสุขภาพของตนเองเบื้องต้นว่ามีโรคประจำตัวที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการใช้ยาหรือไม่
  • ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทานเพราะมีการวิจัยถึงการส่งผลต่อตับทำให้เกิดอาการแย่ลงได้
  • ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาลดคอเรสเตอรอล เบาหวาน ยาขับปัสสาวะ ยาที่ส่งผลต่อตับ และยาระงับประสาท เนื่องจากการส่งผลทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ผิดปกติตอบสนองต่อร่างกาย ดังนั้นหากต้องการจะรับประทานต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • สำหรับคนที่ต้องรับประทานยาแก้แพ้ หรือยากันชัก การรับประทานใบบัวบกจะยิ่งเพิ่มฤทธิ์ให้เกิดการง่วงซึมจึงไม่แนะนำให้รับประทาน
  • ผู้ที่รับประทานใบบัวบกสด ไม่ควรรับประทานใบบัวบกเกิน 3 – 6 ใบต่อวัน ซึ่งหากเกิดอาการภายหลังรับประทาน เช่น มีอาการอ่อนเพลีย ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แนะนำให้หยุดยา และควรไปพบแพทย์โดยทันที
  • ไม่ควรรับประทานใบบัวบกติดต่อกันเป็นประจำทุกวัน หรือมากกว่า 1 อาทิตย์เพราะอาจส่งผลข้างเคียง เช่น ความรู้สึกเย็น และอาการหนาวสั่นตลอดเวลา

ทั้งหมดนี้เป็นข้อควรระวังในการรับประทานใบบัวบกซึ่งควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญเพราะหากได้รับในปริมาณมากเกินไป หรือใช้ร่วมกับยาอื่น ๆ ที่อาจส่งผลข้างเคียงเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ซึ่งจบกันไปแล้วสำหรับเรื่องน่ารู้ของใบบัวบัก ที่เราได้ให้ข้อมูลตั้งแต่ลักษณะ ใบบัวบกมีกี่ชนิด ใบบัวบก สรรพคุณที่หลายคนไม่รู้ การนำไปรับประทาน และโทษของใบบัวบก รวมถึงให้คุณได้นำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธีเพื่อให้เกิดสุขภาพร่างกายที่ดีโดยไม่มีผลข้างเคียง

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

เฉพาะลูกค้าที่เข้าสู่ระบบ และเคยซื้อสินค้าชิ้นนี้แล้วเท่านั้น ที่เขียนบทวิจารณ์ได้

Login

Lost your password?