คำอธิบาย
ดีปลากั้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Phlogacanthus pulcherrimus T.Anderson (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cystacanthus pulcherrimus C.B.Clarke) จัดอยู่ในวงศ์เหงือกปลาหมอ (ACANTHACEAE)
สมุนไพรดีปลากั้ง มีชื่อเรียกอื่นว่า “บีปลากั้ง”
ลักษณะทั่วไปของดีปลากั้ง
ดีปลากั้ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กกึ่งล้มลึก อยู่ในวงศ์ACANTHACEAE ลำต้นตรง เปลือกต้นสีเทา เรียบ สูงราว 30-100 ซม. ใบ เป็นใบเดี่ยวขึ้นเรียงตรงข้ามตามต้น รูปทรงรี กว้าง 4-7 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 5-7 คู่ ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด แต่ละช่อมีดอกย่อยเล็กจำนวนมาก ดอกย่อยไม่มีก้าน เวลาบานกลีบดอกย่อยสีม่วงแกมน้ำเงิน ที่ปลายกลีบแยกเป็นสองปาก มีกลีบเลี้ยงปลายแยกเป็น 4 แฉก ผล รูปทรงแบน พอแก่จัดจะแห้งและแตกได้ในที่สุด พืชชนิดนี้ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ลักษณะของสมุนไพรดีปลากั้ง
ต้นดีปลากั้ง จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 0.5-1.5 เมตร
ใบดีปลากั้ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-16 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร
ดอกดีปลากั้ง ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกเป็นแบบช่อเชิงลด ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว ลักษณะเป็นรูประฆัง ยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกเป็นสีม่วงอมแดง เชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท หลอดกลีบพองออกด้านเดียว ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก
ผลดีปลากั้ง ผลเป็นแบบแคปซูล ยาวได้ประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร เมื่อแห้งจะแตกออก เมล็ดจะเกิดที่ช่วงปลายของผล มีก้านตะขอดีดเมล็ด
สรรพคุณของดีปลากั้ง
- ตำรายาพื้นบ้านจังหวัดมุกดาหารจะใช้สมุนไพรดีปลากั้งเป็นยาบำรุงกำลัง (ยอดอ่อน)
- ใบมีรสขมหวาน มีสรรพคุณช่วยคลายเครียด แก้เบาหวาน (ยอดอ่อน)
- ยอดอ่อนมีรสขมอ่อน ๆ ใช้รับประทานเป็นอาหาร มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ยอดอ่อน)
- ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้ส่วนของลำต้นดีปลากั้ง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด
(ลำต้น) - ยอดใช้นึ่งรับประทานเป็นยาแก้ปวดหลัง (ยอดอ่อน)
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์