หูเสือ

22.2%Sale

หูเสือ

35฿

ต้นหูเสือ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้ประมาณ 2-3 ปี มีความสูงของลำต้นประมาณ 0.3-1 เมตร ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ หักได้ง่าย กิ่งและลำต้นค่อนข้างกลม ต้นอ่อนจะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่น เมื่อแก่แล้วจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำยอดหรือต้น ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีอินทรียวัตถุสูง ชอบความชื้นมาก และแสงแดดปานกลาง พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ

H0030. In stock . .

วิธีการสั่งซื้อ

ติดต่อมาทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ Chiangmaigardens หรือโทร 0850356187 หรือแอดไลน์ไอดี @0850356187

ราคาขายตามขนาดต้นไม้ รูปภาพเป็นรูปตัวอย่าง สินค้ามีเข้าและออกตลอดเวลา กรุณาสอบถามก่อนนะคะ แม่ค้าจะได้คำนวณค่าจัดส่งให้ตามขนาด ปริมาตร และจำนวนที่สั่งซื้อค่ะ ขอบคุณมากค่ะ แต่ตอนจัดส่งจะลงถุงดำนะคะ เนื่องจากข้อจำกัดในการจัดส่ง บางครั้งมันเข้ากล่องไม่ได้ค่ะ เพื่อเป็นการลดภาระลูกค้าในการจัดส่งค่ะ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ชื่อสมุนไพร หูเสือ

ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น เนียมหูเสือ ใบหูเสือ (ทั่วไป,ภาคกลาง),หอมด่วนหลวง,หอมด่วนหูเสือ (ภาคเหนือ),เนียมหูเสือ (ทั่วไป,ภาคอีสาน), ผักฮ่านใหญ่(ไทยใหญ่), โฮ่อิ๋มเช่าชี่ปอ, โฮว่ฮีเช่า,เนียมอีไหลหลึง(จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Coleus aromaticus Benth., Coleus amboinicus Lour. Coleuscrassifolius Benth.,
ชื่อสามัญ Indian borage, French thyme, Country borage, Mexican mint, Spanish thyme, Oreille.
วงศ์ LAMIACEAE – LABIATAE

หูเสือไม่ใช่สมุนไพรที่โด่งดังคุ้นหูระดับท็อปเทนของเมืองไทย แต่เป็นเสือซุ่มที่แทบทุกบ้านต้องมีไว้เป็นยาสามัญประจำบ้านใช้แก้ไอ บำรุงเลือด

“หูเสือ” มีชื่อวิทยาศาสตร์ Plectranthus amboincus (Lour.) Spreng อยู่ในวงศ์ LABIATAE มีชื่อตามท้องถิ่นเรียกต่างๆ ว่า หอมด่วนหลวง หอมด่วนหูเสือ (เหนือ) เนียมหูเสือ (อีสาน) ผักฮ่านใหญ่ (ไทยใหญ่) เป็นต้น เป็นพืชล้มลุกอายุประมาณ 2 – 3 ปี สูงประมาณ 20 – 40 ซม. ลำต้นอวบน้ำหักได้ง่าย ใบสีเขียวอ่อน รูปร่างกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบมน ลักษณะหนา กรอบ และมีขนอ่อนทั่วไปริมขอบใบจักเป็นคลื่นมนรอบๆ ใบ แผ่นใบนูน เส้นใบลึก ดอกเป็นช่อสีม่วงขาว ขยายพันธุ์โดยการปักชำยอดหรือต้น

หูเสือ เป็นผักกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย รูปทรงของใบมีหยักสมดุล สวยงาม อวบอ้วน ตามบ้านเรือนต่างๆ ส่วนใหญ่จะพบหูเสือถูกปลูกอยู่ในกะละมังหรือเข่งเก่าๆ ถึงแม้หูเสือจะไม่ใช่ผักหรือสมุนไพรที่โดดเด่น แต่แทบทุกบ้านมักปลูกไว้เป็นไม้คู่บ้าน บ้านคนจีนจะปลูกไว้เป็นยาแก้ไอ

ส่วนชาวบ้านในแถบภาคอีสานและภาคเหนือจะปลูกไว้เป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้าน คือ เป็นทั้งยาบำรุงเลือดลม บำรุงร่างกาย ขับน้ำนมหลังคลอด และยังสามารถกินเป็นผัก โดยเฉพาะผักแกล้มลาภทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นลาบเนื้อ ลาบปลา ลาบไก่ ลาบเป็ด เนื่องจากในหูเสือ มีน้ำมันหอมระเหยสูง จึงช่วยย่อย แก้ท้องอืด และดับกลิ่นคาวได้ดีมาก นอกจากนี้ ยังนิยมกินกับแจ่วป่น ซุบหน่อไม้ รวมทั้งนำมาใช้แทนใบกะเพราในแกงกบ แกงปลาไหล ผัดหมูสับ เป็นต้น

กลิ่นของใบหูเสือคล้ายกับเครื่องเทศ “ออริกาโน” ที่ใช้โรยหน้าพิซซ่า หากใครชื่นชอบกลิ่นหอมของออริกาโน ก็สามารถใช้ใบหูเสือที่ตากแห้งสนิทในที่ร่ม แล้วบดละเอียด แทนออริกาโนได้เลย

นอกจากนี้ หูเสือ ยังมีสรรพคุณใช้ในการแก้หวัด แก้ไอ แก้คออักเสบ แก้หอบหืด ใช้เป็นยาสามัญประจำบ้านในการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รักษาอาการบวม ตำพอกแก้ปวดข้อ ใช้ขยี้ทาเพื่อห้ามเลือด ใช้คั้นน้ำทาแผลเรื้อรัง ใช้คั้นน้ำหยอดหูเพื่อรักษาหูน้ำหนวก ใช้ดับกลิ่นปาก ใช้แก้ไข้ในเด็ก ใช้ขยี้ทาท้องเด็กเพื่อแก้ท้องอืด ป้องกันฟันผุ ใช้ขยี้ทารักษาหิด แมลงสัตว์กัดต่อย ใช้ใส่ในยุ้งข้าวเพื่อไล่แมลง ปัจจุบัน มีการศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า หูเสือมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และรา อีกด้วย

ตำรับยา

แก้ไอ แก้เจ็บคอ

ตำรับที่ 1 ใช้ใบจำนวน 4 หรือ 5 ใบ ฉีกให้เป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำประมาณ 1 ลิตร กินวันละ 3 เวลา ครั้งละครึ่งแก้ว อาจใส่น้ำผึ้งและเกลือเล็กน้อย กินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ อุ่นเช้า – เย็น สัก 2 วัน ต้มดื่มเรื่อยๆ จะช่วยให้อาการไอ เจ็บคอดีขึ้นและหายได้

ตำรับที่ 2 ใช้ใบหูเสือสด จำนวน 4 – 5 ใบ สับกับหมูไม่ติดมันให้ละเอียด ต้มกินแบบแกงจืด ใส่เกลือป่น กินทั้งน้ำและเนื้อ 2 มื้อ เช้า – เย็น

ตำรับ 3 ใช้ใบหูเสือสด กินกับแจ่ว น้ำพริก แก้ไอ แก้หวัด แก้หอบหืด ทำให้หายใจโล่ง

ตำรับยาแก้ไอในเด็ก ใช้ใบหูเสือนวดกับเกลือ คั้นเอาน้ำใส่ช้อนทองเหลืองอุ่นให้เดือด แล้วนำไปให้เด็กกิน

ตำรับยาแก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก เมื่อถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก เอาใบหูเสือมาล้างให้สะอาดตำ แล้วนำไปโปะตรงที่เป็นแผล จะช่วยให้แผลไม่เปื่อย ไม่พอง ไม่ลุกลาม

ตำรับยาดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ นำรากหูเสือมาแช่น้ำธรรมดา กิน และอบบ่อยๆ

ตำรับยาแก้ไข้ ตัวร้อนในเด็ก นำใบหูเสือมาตำแล้วโปะหน้าผาก หรือกระหม่อมเด็ก จะทำให้ลดไข้ตัวร้อน

ตำรับยาบำรุงเลือด ใช้รากต้มกิน แก้ไข้ รักษาเลือดลมให้ปกติ

ตำรับอาหาร

ผัดหูเสือ ส่วนผสม เนื้อหมู 1 ถ้วย ใบหูเสือ 2 ถ้วย กระเทียม 3 กลีบ น้ำมันพืช ซีอิ๊วขาว เกลือ

วิธีทำ เอาน้ำมันพืชตั้งไฟ ผัดกระเทียมก่อน ใส่เนื้อหมู ใบหูเสือ โรยเกลือลงไปเล็กน้อยเพื่อให้ใบหูเสือเป็นสีเขียว ผัดจนสุก ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว พร้อมรับประทาน

สมูทตี้..หูเสือ ส่วนผสม ใบหูเสือหั่นฝอย น้ำผึ้ง มะนาว เกลือ

วิธีทำ นำน้ำผึ้ง มะนาว เกลือเล็กน้อย น้ำแข็ง ปั่นให้ละเอียด นำใบหูเสือหั่นฝอย ใส่ลงไป ปั่นให้พอแหลกเข้ากันดี ตักใส่แก้ว ดื่มแก้กระหาย

 

ลักษณะของต้นหูเสือ

ต้นหูเสือ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้ประมาณ 2-3 ปี มีความสูงของลำต้นประมาณ 0.3-1 เมตร ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ หักได้ง่าย กิ่งและลำต้นค่อนข้างกลม ต้นอ่อนจะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่น เมื่อแก่แล้วจะค่อย ๆ หลุดร่วงไป ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำยอดหรือต้น ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ที่มีอินทรียวัตถุสูง ชอบความชื้นมาก และแสงแดดปานกลาง พบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ตามที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วทุกภาคของประเทศ แต่พบได้มากทางภาคเหนือ

ใบหูเสือ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้างค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปลายใบกลมมน โคนใบกลมหรือตัด ส่วนขอบใบจักเป็นคลื่นมน ๆ รอบ ๆ ใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวอ่อน แผ่นใบหนาและอวบน้ำ ผิวใบมีขนอ่อนนุ่มขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วทั้งใบ แผ่นใบนูน เส้นใบลึก ก้านใบมีความยาวประมาณ 2-4.5 เซนติเมตร ใบเมื่อนำมาขยี้ดมจะมีกลิ่นหอมฉุน

ดอกหูเสือ ออกดอกเป็นช่อ ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยจะออกตามปลายกิ่งหรือยอด ในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 6-8 ดอก ดอกจะทยอยบานทีละ 1-2 ดอก ดอกย่อยติดกันหนาแน่นเป็นวงรอบแกนผล เป็นระยะ ๆ และมีขน ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีม่วงขาว ลักษณะเป็นรูปเรือ ยาวได้ประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 2 กลีบ กลีบบนสั้น ตั้งตรง และมีขน ส่วนกลีบล่างมีลักษณะยาวและเว้า ก้านเกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นหลอด ตอนโคนล้อมก้านเกสรเพศเมียไว้ กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูประฆัง ยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร มีขน และมีต่อม ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก แฉกบนเป็นรูปไข่กว้าง ปลายแหลม ส่วนแฉกข้างเป็นรูปหอกแคบ โดยแฉกล่างจะยาวกว่าแฉกอื่นเล็กน้อย ส่วนใบประดับมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ปลายแหลม ก้านสั้น

ผลหูเสือ ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสรน้ำตาลอ่อน เปลือกผลแข็ง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร

หมายเหตุ : ต้นหูเสือ กับ Oregano (Origanum vulgare) ซึ่งเป็นพืชเครื่องเทศของประเทศแถบยุโรป เป็นพืชคนละชนิดกันกับต้นหูเสือ แต่อยู่ในวงศ์เดียวกัน พืชทั้งสองชนิดนี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นต้นเดียวกัน เพราะหูเสือกับ Oregano จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก ต่างกันเพียง Oregano มีต้นและใบที่ไม่อวบน้ำ และมีก้านใบสั้นกว่าต้นหูเสือ

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

เฉพาะลูกค้าที่เข้าสู่ระบบ และเคยซื้อสินค้าชิ้นนี้แล้วเท่านั้น ที่เขียนบทวิจารณ์ได้