เมล็ดผักปลังแดง

เมล็ดผักปลังแดง

50฿

SEED010. In stock .

วิธีการสั่งซื้อ

ติดต่อมาทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ Chiangmaigardens หรือโทร 0850356187 หรือแอดไลน์ไอดี @0850356187

ราคาขายตามขนาดต้นไม้ รูปภาพเป็นรูปตัวอย่าง สินค้ามีเข้าและออกตลอดเวลา กรุณาสอบถามก่อนนะคะ แม่ค้าจะได้คำนวณค่าจัดส่งให้ตามขนาด ปริมาตร และจำนวนที่สั่งซื้อค่ะ ขอบคุณมากค่ะ แต่ตอนจัดส่งจะลงถุงดำนะคะ เนื่องจากข้อจำกัดในการจัดส่ง บางครั้งมันเข้ากล่องไม่ได้ค่ะ เพื่อเป็นการลดภาระลูกค้าในการจัดส่งค่ะ

รายละเอียดเพิ่มเติม

ร้านเชียงใหม่การ์เด้นส์ ขายเมล็ดผักปลังแดง หรือเมล็ดผักปั๋งป่า ราคาถูก

ผักปลัง ฟรือ ผักปั๋ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Basella alba วงศ์ Basellaceae ไม้เลื้อย ลำต้นอวบน้ำ เกลี้ยง กลม ลำต้นมีสีเขียว ใบเดี่ยว อวบน้ำ เป็นมันหนานุ่มมือ ฉีกขาดง่าย ขยี้จะเป็นเมือกเหนียว ขอบใบเรียบ ดอกช่อเชิงลด ออกตรงซอกใบ ดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดเล็ก ไม่มีก้านชูดอก แต่ละดอกมี 5 กลีบ ดอกสีขาว มีริ้วประดับ ติดที่โคนของกลีบรวม กลีบรวมรูประฆัง โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายแยกเป็นห้าแฉกเล็กน้อย เกสรเพศผู้มีจำนวน 5 อัน ติดที่ฐานของกลีบดอก อับเรณูรูปกลม ติดก้านชูเกสรที่ด้านหลัง เกสรเพศเมีย 1 อัน กลม ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก ผลสด กลมแป้น ฉ่ำน้ำ ผิวเรียบ ปลายผลมีร่องแบ่งเป็นลอน ไม่มีก้านผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงอมดำ ภายในผลมีน้ำสีม่วงดำ เมล็ดเดียว

สมุนไพรผักปลัง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักปั๋ง ผักปั่ง (ภาคเหนือ), ผักปลังใหญ่ ผักปลังขาว ผักปลังแดง (ภาคกลาง), ผักปรัง ผักปรังใหญ่ (ไทย), เดี้ยจุ่น (เมี่ยน), มั้งฉ่าง (ม้ง), เหลาะขุ้ย โปแดงฉ้าย (แต้จิ๋ว), ลั่วขุย (จีนกลาง) เป็นต้น

ผักปลังมี 2 ชนิดต่างกันตามสีของลำต้นและดอก ถ้าลำต้นเขียว ดอกขาวเรียกผักปลังขาว ถ้าลำต้นแดง ดอกแดงเรียกผักปลังแดง ทั้งสองชนิดรับประทานได้เช่นเดียวกัน ชาวมอญในไทยเรียกผักปลังทั้งสองชนิดรวมกันว่าผักปลังป่า ในขณะที่ภาษามอญเรียกผักปลังว่าฮะลอน

ชาวมอญนำมาทำแกงเลียง แกงส้ม ผัดน้ำมัน ลวกจิ้มน้ำพริกทางภาคเหนือนิยมนำไปทำแกงจิ้นส้มหรือแกงกับแหนม เพราะผักปลังมีเมือกจึงต้องรับประทานกับเครื่องปรุงรสเปรี้ยว นอกจากนี้ ทางภาคเหนือและอีสานนำมาแกงกับถั่วเน่า ทำจอผักปลัง ดอกตูมใส่ในแกงส้ม ผัดกับแหนม แกงเลียง ในกรุงเทพฯ นิยมนำมาผัดไฟแดงหรือผัดน้ำมันหอย ชาวไทยทางภาคเหนือและชาวไทลื้อนำยอดอ่อนมาแกง ชาวไทยภาคเหนือและชาวเมี่ยนต้มยอดอ่อนให้สตรีที่อยู่ไฟกินเป็นยาบำรุง ชาวม้งนำยอดอ่อน แกงหรือใส่ต้มไก่เป็นยาบำรุงเลือดลมสำหรับคนที่เลือดลมไม่ดี ชาวไทเมืองนำเถามัดเอวให้สตรีใกล้คลอดเชื่อว่าช่วยให้คลอดง่าย ผลสุก ใช้แต่งสีม่วงในขนม เช่น ขนมบัวลอย ซ่าหริ่ม

ในตำรายาไทย ดอก ใช้ทาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคเรื้อน ดับพิษฝีดาษ แก้เกลื้อน คั้นเอาน้ำทาแก้หัวนมแตกเจ็บ ต้น แก้อึดอัดแน่นท้อง ระบายท้อง แก้อักเสบบวม ต้มดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ ราก แก้รังแค แก้โรคผิวหนัง แก้ท้องผูก แก้พรรดึก ขับปัสสาวะ ใช้ทาถูนวดให้ร้อน เป็นผักที่มีเมือกมาก กินแล้วช่วยระบาย

ลักษณะของผักปลัง

ต้นผักปลัง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ เกลี้ยง กลม ไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขามาก มีความยาวประมาณ 2-6 เมตร หากลำต้นเป็นสีเขียวจะเรียกว่า “ผักปลังขาว” ส่วนชนิดที่ลำต้นเป็นสีม่วงแดงจะเรียกว่า “ผักปลังแดง” ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำเถาแก่ เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดรำไร สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าทุ่ง ที่รกร้าง หรือตามที่ชุ่มชื้นทั่วไป

ใบผักปลัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.5-12 เซนติเมตร ใบมีลักษณะอวบน้ำและเป็นมันหนานุ่มมือ ฉีกขาดได้ง่าย หลังใบและท้องใบเกลี้ยงไม่มีขน เมื่อนำมาขยี้จะเป็นเมือกเหนียว ก้านใบอวบน้ำยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร เป็นสีเขียวและสีแดง

ดอกผักปลัง ออกดอกเป็นช่อเชิงลด โดยจะออกตรงซอกใบ มีขนาดยาวประมาณ 3-21 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กและมีจำนวนมาก ไม่มีก้านชูดอก แต่ละดอกจะมีกลีบ 5 กลีบ โดยผักปลังขาวดอกจะเป็นสีเขียว ส่วนผักปลังแดงดอกจะเป็นสีม่วงแดง มีความยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร มีใบประดับขนาดเล็ก 2 ใบติดอยู่ที่โคนของกลีบรวม ลักษณะของกลีบรวมเป็นรูประฆัง ยาวประมาณ 0.1-3 มิลลิเมตร โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อ ที่ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉกเล็กน้อย ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้าน ติดอยู่ที่ฐานของกลีบดอก มีอับเรณูเป็นรูปกลม ยาวประมาณ 0.1-0.5 มิลลิเมตร รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง ลักษณะเป็นรูปค่อนข้างรี ยาวประมาณ 0.1-0.5 มิลลิเมตร ส่วนก้านชูเกสรเพศเมียจะยาวประมาณ 0.1-0.5 มิลลิเมตร

ผลผักปลัง ผลเป็นผลสด ฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผิวผลเรียบ ปลายผลมีร่องแบ่งเป็นลอน และไม่มีก้านผล ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เนื้อผลนิ่ม ภายในผลมีน้ำสีม่วงดำ และมีเมล็ด 1 เมล็ด

สรรพคุณของผักปลัง

  1. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
  2. ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน มีสารเบตาแคโรทีนที่ช่วยบำรุงดวงตา และยังมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารช่วยป้องกันมะเร็งอีกด้วย (ใบ)
  3. ดอกใช้เป็นยาดับพิษในเลือด (ดอก)
  4. ทั้งต้นมีรสเย็น เป็นขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยยาลดไข้ แก้อาการร้อนใน ทำให้เลือดเย็น (ทั้งต้น)
  5. น้ำคั้นจากดอกใช้เป็นยาทาแก้หัวนมแตกเจ็บ (ดอก)
  6. ต้นและใบมีรสหวานเอียน เป็นยาช่วยระบายท้อง (ต้น, ใบ)
  7. ช่วยแก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำให้ข้นแล้วรับประทาน (ต้น)
  8. ต้น ราก ใบ และทั้งต้นช่วยแก้อาการท้องผูก ยอดอ่อนหรือใบยอดอ่อนสดจะมีเส้นใย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ ที่เหมาะสำหรับเด็กและสตรีตั้งครรภ์ เมื่อนำมาต้มรับประทานเป็นอาหารจะช่วยแก้อาการท้องผูกได้ และเมือกที่อยู่ในผักปลังจะมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยทำให้ท้องไม่ผูกได้ (ต้น, ราก, ใบ, ทั้งต้น)
  9. รากมีรสหวานเอียน ใช้เป็นยาแก้พรรดึก (หรืออุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม) (ราก)
  10. ใบใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ)
  11. ใช้ต้นสด 60-120 กรัมนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้ไส้ติ่งอักเสบ (ต้น)
  12. ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ทั้งต้น)
  13. ช่วยแก้ขัดเบา ด้วยการใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ทั้งต้น) ตำรายาแก้ปัสสาวะขัดระบุให้ใช้ใบสด 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มแบบชาต่อหนึ่งครั้ง (ใบ)
  14. รากและใบช่วยขับปัสสาวะ (ราก, ใบ)
  15. หมอตำแยทางภาคเหนือมักจะใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำเมือกมาทาบริเวณช่องคลอดของสตรี เพื่อช่วยให้สตรีมีครรภ์คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานผักปลังด้วย เพราะจะช่วยทำให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น โดยนำมาทำเป็นแกงผักปลังให้รับประทานทุกวันเดือนดับเดือนเต็ม เชื่อว่าจะช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย ทำให้ไหลลื่นเหมือนผักปลัง (จากความเชื่อนี้เองจึงทำให้ผู้มีคาถาอาคมไม่กล้ารับประทาน เพราะกลัวคาถาเสื่อม) (ใบ)
  16. ตกเลือดเรื้อรัง ให้ใช้ใบสด ยอดอ่อน 30 กรัม นำมาต้มรับประทาน (ใบ)
  17. หมอเมืองบางท่านจะใช้ใบผักปลังนำมาตำกับข้าวสารเจ้า ใช้เป็นยาพอกแก้โรคมะเร็งไข่ปลา (เริม) (ใบ)
  18. ใช้เป็นยาใส่แผลสด ใช้ห้ามเลือด หรือใช้แก้อาการฟกช้ำ ให้นำใบมาตำให้พอแหลก ผสมกับน้ำตาลทรายหรือเหล้าเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)[5] ทั้งต้นใช้เป็นยาใส่แผลสดเพื่อห้ามเลือด รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ทั้งต้น)
  19. ใช้ใบและผลนำมาขยี้ทาบริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย มีลักษณะเป็นแผลไหม้ จะช่วยบรรเทาอาการและทำให้รู้สึกเย็นขึ้นได้ (ใบและผล)
  20. ช่วยแก้อักเสบ (ใบ, ทั้งต้น) แก้อักเสบบวม (ต้น)
  21. ช่วยแก้อีสุกอีใส (ดอก)
  22. รากใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้รังแค (ราก)
  23. ดอกมีรสหวานเอียน น้ำคั้นจากดอกใช้เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคเรื้อน แก้เกลื้อน (ดอก)
  24. ใบนำมาตำใช้เป็นยาพอกแก้กลากเกลื้อน แก้ผื่นคัน ผื่นแดง และฝี (ใบ) ใช้แก้ฝีหรือแผลสด ให้ใช้ใบสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น หรือขยี้ทาก็ได้เช่นกัน (ใบ)[2] บ้างว่าใช้ผลนำมาต้มรับประทานแก้ฝี (ผล)
  25. ช่วยดับพิษ ดับพิษฝีดาษ แก้พิษฝีดาษ ด้วยการใช้น้ำคั้นจากดอกสด นำมาทาบริเวณที่เป็น (ต้น, ดอก, ทั้งต้น)
  26. ช่วยแก้พิษฝี (ต้น)
  27. ช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น โดยให้เปลี่ยนยาวันละ 1-2 ครั้ง (ใบ)
  28. รากนำมาต้มรับประทานเป็นยาแก้มือเท้าด่าง (ราก)
  29. ช่วยแก้อาการช้ำใน กระดูกร้าว (ทั้งต้น)
  30. ช่วยแก้อาการปวดแขนขา ด้วยการใช้ใบสด ยอดอ่อน 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ)
  31. รากใช้เป็นยาทาถูนวดให้ร้อนเพื่อให้เลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณที่ทามากขึ้น ส่วนน้ำคั้นจากรากก็เป็นยาหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี (ราก)
  32. ยอดอ่อนนำมาแกงหรือใส่ต้มไก่รับประทานเป็นยาบำรุงเลือดลม สำหรับคนหน้าซีด เลือดลมไม่ดี (ใบ)
  33. ยอดอ่อนใช้ใส่แกงหรือต้มให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟรับประทานเป็นยาบำรุง (ใบ)

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

เฉพาะลูกค้าที่เข้าสู่ระบบ และเคยซื้อสินค้าชิ้นนี้แล้วเท่านั้น ที่เขียนบทวิจารณ์ได้